วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชัง

การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชัง
การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังนั้นให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง ปลามีการเจริญเติบโตดี สะดวกในการจัดการทั้งการให้อาหารและดูแลสุขภาพ อีกทั้งยังทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ก่อนที่จะเลี้ยงจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจในการเลี้ยงอย่างถี่ถ้วน
สิ่งที่ควรคำนึงก่อนการเลี้ยง
ความพร้อมในด้านความรู้และการลงทุน
มีตลาดรองรับ
มีการวางโปรแกรมการผลิตที่ดี และต้องทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุด
ข้อดีของการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชัง
ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง
ระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น
ปลามีอัตราการเจริญเติบโตดี
สะดวกในการดูแลและจับปลา
การเลือกสถานที่
คุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องอยู่ในเกณฑ์ดีเนื่องจากเป็นการเลี้ยงแบบหนาแน่น
แหล่งน้ำควรมีค่าความเป็นกรดด่าง (พีเอช) ระหว่าง 7-8 มีค่าการส่องผ่านของแสงในน้ำระหว่าง 50-100 เซนติเมตร ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำไม่น้อยกว่า 5 มิลลิกรัม/ลิตร
สถานที่ที่เหมาะสม ได้แก่ แม่น้ำ เขื่อน ฝาย ซึ่งมีน้ำตลอดปี น้ำลึกมากกว่า 4 เมตร อากาศถ่ายเท และสะดวกในการดูแล
สถานที่ที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ใกล้ท่อระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม แหล่งชุมชน พื้นที่เกษตรกรรมที่มีการใช้สารเคมี บริเวณที่มีพืชน้ำ สาหร่าย หรือสิ่งสกปรกมาก น้ำไม่หมุนเวียนและการระบายอากาศไม่ดี









หลักในการพิจารณาเลือกทำเลที่เหมาะสม
การถ่ายเทของกระแสน้ำ การเลี้ยงปลาในกระชังอาศัยการถ่ายเทน้ำผ่านกระชัง พัดเอาน้ำดีเข้ามาใหม่และพัดพาของเสียออกไปนอกกระชัง ควรมีกระแสน้ำไหลและลมพัดแต่ไม่รุนแรงนัก ควรแขวนกระชังไว้ในที่โล่งแจ้ง ห่างไกลจากร่มไม้และไม่ควรมีพรรณไม้ใต้น้ำ การเลี้ยงปลาในอ่างเก็บน้ำ กระแสลมมีส่วนช่วยทำให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสน้ำ
ความลึกของแหล่งน้ำ ควรลึกพอสมควร พื้นกระชังห่างจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ของเสียรบกวนปลา
ห่างไกลจากสิ่งรบกวน ควรวางกระชังห่างไกลจากชุมชน เพื่อป้องกันการรบกวนปลาที่เลี้ยง เครียด ตกใจ ได้รับบาดเจ็บจากการว่ายชนกระชัง รบกวนการกินอาหารหรือติดเชื้อจากบาดแผลที่เกิดขึ้นได้
กระชัง
ขนาดกระชังที่เลี้ยงจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น 3x3x1.5, 3x3x2.5, 3x3x3, 4x4x2.5, 5x5x2.5, 6x4x2.5 ลูกบาศก์เมตร เป็นต้น
ขนาดกระชังมีผลโดยตรงต่อคุณภาพน้ำในกระชัง เนื่องจากอัตราส่วนระหว่างพื้นที่ผนังด้านข้างต่อปริมาตรของกระชังมีผลต่ออัตราการแลกเปลี่ยนน้ำจากภายนอกกับในกระชัง ดังนั้นกระชังที่มีอัตราส่วนระหว่างพื้นที่ผนังด้านข้างต่อปริมาตรกระชังสูง จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตของปลาดีและผลผลิตต่อปริมาตรกระชังสูง
วัสดุที่ใช้ทำกระชังจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ โครงกระชังอาจทำจากไม้ไผ่หรือเหล็กขึ้นอยู่กับทุนของเกษตรกรและความเหมาะสม โดยมีถังน้ำมันหรือถังสารเคมีทำเป็นทุ่น อวนที่ใช้เลี้ยงปลาอาจเป็นชั้นเดียวหรือสองชั้น โดยปกติจะใช้อวนขนาดตา 2-3 เซนติเมตร ทั้งนี้ขนาดตาของอวนจะต้องพิจารณาจากขนาดปลาที่ปล่อยด้วย ด้านบนกระชังจะมีอวนขนาด 7 เซนติเมตรปิดด้านบนกระชัง
























การวางกระชัง
ก้นกระชังต้องห่างจากพื้นดินมากกว่า 1 เมตร
ควรวางกระชังห่างจากขอบตลิ่งพอสมควร เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดมุมอับในการไหลของน้ำและลดภาวะเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำอย่างฉับพลันในขณะที่มีฝนตกชะล้างตะกอนหรือของเสียลงมา

แต่ละกระชังควรวางห่างกันอย่างน้อย 50 เซนติเมตร
หลังจัดวางกระชังเรียบร้อยแล้ว ควรมีระดับน้ำสำหรับให้ปลาอยู่ไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร
หากเลี้ยงในบริเวณที่มีกระแสน้ำไหล ควรวางกระชังขวางการไหลของน้ำ เพื่อให้เกิดการถ่ายเทของน้ำในกระชัง
ไม่ควรวางกระชังเป็นกลุ่มติดกันมาก เนื่องจากกระชังด้านในจะมีการไหลของน้ำผ่านน้อย การถ่ายเทของเสียมีน้อย ทำให้ได้ผลผลิตน้อย
การเตรียมลูกปลาก่อนลงกระชัง
ควรพิจารณาถึงคุณภาพของลูกปลา โดยซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เลี้ยงแล้วปลาโตดี ขนาดสม่ำเสมอ
ก่อนการขนส่ง จะต้องเตรียมปลาให้แข็งแรง โดยให้กินวิตามินซีผสมอาหารประมาณ 1 อาทิตย์ก่อนลงกระชัง
งดอาหารลูกปลา 1-2 วัน ก่อนลงกระชัง เพื่อลดการเกิดของเสียในการขนส่งรวมทั้งทำให้อัตราการตายของปลาหลังปล่อยลดลง





















การขนส่งลูกปลา
สามารถขนส่งลูกปลาโดยบรรจุในถุงพลาสติกที่อัดออกซิเจนหรือขนส่งโดยภาชนะแบบเปิด เช่น ถังพลาสติกขนาดใหญ่ที่ให้อากาศหรือออกซิเจนระหว่างขนส่ง












ควรขนส่งในช่วงที่อากาศไม่ร้อน ซึ่งทำให้อัตราการตายของปลาหลังปล่อยต่ำลงหรือเสียหายน้อย
การลดอุณหภูมิของน้ำระหว่างขนส่ง จะทำให้ปลามีการเคลื่อนที่น้อยลงและลดความเครียด ซึ่งทำได้โดยการเติมน้ำแข็งลงไป จนได้อุณหภูมิ 24 องศาเซลเซียส
ในระหว่างการขนส่ง อาจใส่เกลือลงไป 0.1-0.5% ( เกลือ 1-5 กิโลกรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร ) เพื่อลดความเครียดของปลา รวมทั้งช่วยรักษาสมดุลย์ของเกลือแร่ในตัวปลา
ขนาดปลาและอัตราการปล่อย
ขนาดปลาที่ปล่อยโดยทั่วไป คือ 30-50 กรัม (20-30 ตัว/กิโลกรัม) อัตราการปล่อยโดยประมาณ 60-100 ตัว/ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพการไหลของกระแสน้ำ ปริมาณและคุณภาพน้ำ ฤดูกาล ขนาดกระชัง ระยะเวลาในการเลี้ยง ขนาดปลาที่จับ สายพันธุ์ และความชำนาญของเกษตรกรผู้เลี้ยง















การจัดการระหว่างการเลี้ยง
ควรตรวจสอบกระชังเพื่อซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดที่อาจเกิดจากวัสดุที่ลอยมาตามน้ำหรือปลาในธรรมชาติกัดกระชัง เช่น ปลาปักเป้า
ต้องทำความสะอาดกระชังและตาข่ายที่กั้นอาหารอย่างสม่ำเสมอหากมีการอุดตัน โดยใช้แปรงถูเพื่อลดการสะสมของเสียในกระชัง รวมทั้งให้การไหลของน้ำผ่านกระชังดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น