วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การขุดบ่อปลา
















การเลี้ยงปลาเป็นอาชีพคู่กันกับการเกษตร เพราะปลาเป็นอาหารคู่กันกับข้าว ประเทศเพื่อนบ้านที่ทำการเพาะปลูก เช่น ประเทศในแถบอินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ต่างก็เลี้ยงปลาได้ผลดี การเลี้ยงปลานอกจากทำให้มีปลาเป็นอาหารแล้วยังจะให้ความเพลิดเพลินด้วย เมื่อเหลือกินก็จำหน่ายเป็นการเพิ่มรายได้อีกส่วนหนึ่ง หรือเลี้ยงมากๆ ก็เป็นสินค้าทำให้ร่ำรวยได้วิธีเลี้ยงปลาอาศัยหลักการดังนี้ คือ 1. เลือกที่ริมทะเล แม่น้ำ ลำคลอง ที่มีน้ำบริบูรณ์ ดินดี น้ำไม่ท่วมใกล้ทางหลวงและชุมนุมชน 2. ขุดบ่อให้กว้าง ยาว และลึกพอเลี้ยงปลาได้ตามที่ต้องการ บ่อนั้นจะเล็กใหญ่สุดแต่กำลังเงิน 3. เลือกปลาที่ควรเลี้ยงในบ่อให้เหมาะสมกับท้องที่ ปลาที่เลี้ยงควรเป็นพันธุ์ดี มีขนาดไล่เลี่ยกัน 4. พันธุ์ปลาที่ใช้เลี้ยง ได้จากการรวบรวมจากธรรมชาติ ซื้อหรือจะเพาะฟักเอาเองก็ได้ 5. มีอาหารปลาสม่ำเสมอ ด้วยการใส่ปุ๋ย และหาอาหารสมทบให้มีพอดี ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป 6. เนื้อที่บ่อ 1 ตารางเมตร ไม่ควรเลี้ยงลูกปลาเกิน 50 ตัว และปลาขนาดใหญ่ไม่เกิน 5 ตัว นอกจากจะมีอาหารสมบูรณ์ มาก ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ปลา 7. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับปลาที่เลี้ยง และวิธีเลี้ยง ด้วยการเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ 8. ป้องกันศัตรูของปลา เช่น นก นาก งู และโรคพยาธิ ถ้ามีก็ช่วยกำจัด



















ทำเลที่ควรขุดบ่อปลา ทำเลที่จะเลี้ยงปลาเป็นสิ่งสำคัญประการแรก ที่จะทำให้การเลี้ยงปลาได้ผลดีหรือล้มเหลว ดังนั้น เมื่อจะขุดบ่อเลี้ยงปลา ควรพิจารณาทำเลที่ประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ใกล้แหล่งน้ำ คือ อยู่ใกล้ทะเล แม่น้ำ ลำคลองที่มีน้ำสะอาด อาศัยน้ำได้ตลอดปี สะดวกแกการระบายหรือถ่ายเทน้ำในบ่อและควรพิจารณาว่าที่นั้นอยู่ห่างจาก โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งอาจจะระบายเศษกากวัตถุดิบลงในน้ำทำให้เกิดน้ำเสียมาถึง บ่อปลาได้ 2. ดิน ควรเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย เพราะสามารถเก็บกักน้ำได้ และเป็นดินที่มีปุ๋ย 3. ระดับพื้นที่ ควรเป็นที่ราบเรียบ ไม่เป็นโขด หรือ[คำไม่พึงประสงค์]นเกินไปจะทำให้ต้องใช้แรงงานในการขุดดิน หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายในการยกคันบ่อมากเกินควร 4. พืช เป็นเครื่องชี้บอกว่าดินดีเพียงใด และพืชบางชนิดก็ใช้เป็นอาหารของคน ของปลา และเป็นปุ๋ยในบ่อปลาได้ แต่ถ้ามีพันธุ์ไม้ใหญ่มาก ก็จะเสียค่าใช้จ่ายในการขุด โค่น ตัด ถอนมาก 5. น้ำไม่ท่วม ที่นั้นไม่ควรเป็นที่ระดับน้ำท่วมหรือไหลบ่าจนยากแก่การป้องกันไม่ให้ปลาหนี 6. ใกล้ตลาด เพื่อเพิ่มพูนรายได้ ที่นั้นควรอยู่ใกล้ตลาด ร้านค้า ชุมนุมชน ซึ่งสามารถขายปลาสดได้ทันเวลา และได้ราคาสูง 7. การขนส่ง บ่อปลาควรอยู่ใกล้ทางคมนาคมที่มียานพาหนะผ่านไปมา ขนส่งสะดวก ติดต่อได้สะดวกรวดเร็ว 8. แรงงาน ในการสร้างบ่อปลา ควรอาศัยคนที่ชำนาญงานทำเลนั้น จึงควรเป็นที่ซึ่งจะจ้างเหมาหาแรงงานได้สะดวก 9. ความปลอดภัย บริเวณนั้นควรเป็นที่สงบสุข ไม่มีโจรผู้ร้ายเบียดเบียน และไม่เป็นแหล่งโรคพยาธิที่จะรบกวนสุขภาพอนามัย



บ่อปลา เมื่อเลือกทำเลเลี้ยงปลาแล้ว การสร้างบ่อควรดำเนินตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1. วางผังบ่อในเนื้อที่ซึ่งมีอยู่ ควรกำหนดขุดสร้างเป็นขั้นๆ ตามกำลัง ถ้าเลี้ยงปลาเป็นการค้า ก็ควรกะให้ขยายได้ในกาลข้างหน้า 2. กรุยทางสำหรับยกคันบ่อตามแนวทางที่วางไว้ในแผนผัง แล้วเก็บเศษไม้กิ่งไม้ออก 3. ยกคันบ่อให้สูงกว่าระดับน้ำสูงสุดในรอบปีประมาณ 30 ซม. คันบ่อควรมีฐานเชิงลาดกว้างเท่ากับส่วนสูงของคันดิน 4. เว้นช่องและสร้างประตูระบายน้ำตรงที่ใกล้ หรือติดต่อกับแหล่งน้ำให้พื้นประตูของทางน้ำเข้าสูงกว่าทางน้ำออกซึ่งประกอบด้วยตะแกรงตาถี่ 2 ชั้น และไม้อัดตรงกลางยกขึ้นลงได้ 5. สำหรับปลาน้ำจืด บ่อจะเป็นรูปใดขนาดใดก็ได้ แต่ควรเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและการจับปลาและให้น้ำขังได้ตลอดปีไม่ต่ำกว่า 1 เมตร ถ้าเลี้ยงปลาน้ำกร่อย ควรมีบ่อขนาดใหญ่แต่ละบ่อเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 500 ตารางเมตร ลึก 50 ซม. 6. สำหรับบ่อเพาะพันธุ์ปลา ควรอยู่ใกล้บ้านผู้เลี้ยงที่สุด และมีขนาดเล็กกว่าบ่อเลี้ยง เพื่อดูแลรักษาได้ใกล้ชิดและป้องกันศัตรูได้สะดวก 7. พื้นบ่อควรเรียบเตียนสม่ำเสมอกัน แต่ลาดไปทางประตูระบายน้ำออกเพื่อสะดวกในการล้างบ่อและจับปลา 8. ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง ควรโรยปูนขาวให้ทั่วเพื่อฆ่าเชื้อโรค ตากทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน จึงปล่อยน้ำเข้า อีกประมาร 7วันต่อมาจึงถ่ายน้ำออกเพื่อรับน้ำใหม่ 9. ใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ตากแห้งเพื่อให้เกิ[คำไม่พึงประสงค์]าหารพวกพืชและไรน้ำสำหรับปลากินเป็นอาหาร 10. บนคันดินควรปลูกต้นไม้ไว้เป็นร่มเงาแก่ปลาที่เลี้ยงบ้าง ส่วนภายในบ่อ ก็ควรปลูกผักหญ้าที่จะใช้เป็นอาหารสำหรับคนและปลาได้บ้างเล็กน้อย 11. เพื่อความสะดวกในการให้อาหารปลาและรักษาความสะอาด ควรทำกระบะไม้ที่รองอาหารไว้ใต้ระดับน้ำในบ่อ 12. ปล่อยปลาที่คัดเลือกแล้วลงในบ่อเลี้ยงในเวลาเช้าหรือเวลาเย็น ** ท่านที่อยู่ใกล้แม่น้ำลำคลอง ก็สามารถใช้ประโยชน์ด้วยการเลี้ยงปลาในกระชัง กั้นคอก หรือจะเลี้ยงปลาในร่องสวน อย่างใ[คำไม่พึงประสงค์]ย่างหนึ่งได้ตามความเหมาะสมปลาที่ควรเลี้ยง พันธุ์ปลาที่ดีและควรเลี้ยงได้แก่ ปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว หาพันธุ์ได้ง่าย มีลูกมาก อดทน เนื้อมีรสดีและมีผู้นิยมรับประทาน ปลาซึ่งมีลักษณะดังกล่าวมักเป็นปลาที่กินพืชผักเป็นอาหาร เพื่อให้เข้าใจแจ้งชัดขออธิบายดังนี้ 1. เลี้ยงง่าย ได้แก่ ปลาที่กินอาหารง่าย ไม่เลือกอาหาร เช่น กินผักหญ้า อาหารที่มีตามธรรมชาติ หรือซื้อหาได้ง่ายและราคาถูก 2. โตเร็ว ถ้าเลี้ยงปลาที่โตเร็ว เพียง 6 เดือนถึง 1 ปี ก็จะใช้เป็นอาหารหรือมีขนาดโตพอที่จะจำหน่ายได้ 3. หาพันธุ์ได้ง่าย เช่น เพาะพันธุ์ได้ในบ่อ หรือหาพันธุ์ปลาได้จากที่ใกล้เคียง เพื่อจะได้มีปลาเลี้ยงอยู่เสมอ และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อหาลูกปลามาเลี้ยงด้วยราคาแพงเกินไป 4. มีลูกมาก ปลาที่มีลูกมากจะช่วยเพิ่มจำนวนให้เลี้ยงได้มากขึ้น เป็นการเพิ่มอาหารและรายได้ให้ผู้เลี้ยงรวดเร็วขึ้น 5. อดทน ปลาที่เลี้ยงควรเป็นชนิ[คำไม่พึงประสงค์]ดทนต่อสภาพท้องที่ และลมฟ้าอากาศ แม้จะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามฤดูกาล เช่น ขาดแคลนอาหาร อากาศร้อน หนาว น้ำน้อย และถ้าเกิดโรคพยาธิก็ไม่ตายง่าย 6. เนื้อมีรสดี ปลาที่เลี้ยงเนื้อควรมีรสดี เป็นที่นิยมของผู้รับประทานโดยทั่วไป และมีราคาสูงปลาชนิดที่มีคุณลักษณะดังกล่าวและเลี้ยงได้ผลดี คือ 1. ปลาไน 2. ปลาสลิด 3. ปลาดุก 4. ปลาสวาย ปลาเทโพ 5. ปลาเฉา 6. ปลาลิ่น 7. ปลาซ่ง 8. ปลานวลจันทร์ทะเล 9. ปลาแรด 10. ปลาหมอตาล 11. ปลากระบอก 12. ปลากะพงขาว




อาหารของปลา ก่อนที่จะเลี้ยงปลา ผู้เลี้ยงควรศึกษาให้ทราบเสียก่อนว่าปลาที่เลี้ยงชอบกินอะไร และอาหารนั้นควรหาได้ง่ายและมากพอที่จะเลี้ยงปลาให้เจริญเติบโตด้วย ปลาแต่ละชนิดกินอาหารไม่เหมือนกัน กล่าวคือ 1. ปลาไน กินจุลินทรีย์ในน้ำ ไรน้ำ ลูกน้ำ แหน สาหร่าย ตะไคร่น้ำ รำ รากและใบผักบุ้ง ผักแพงพวย ลูกกุ้ง แมลง และตัวหนอน 2. ปลาสลิด กินตะไคร่น้ำ แหน ไรน้ำ รำ ตัวปลวก 3. ปลาดุก ชอบกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์มากกว่าอาหารจำพวกพืช เช่น ปลาเป็ด เศษเนื้อ เนื้อหอย เนื้อปู เลือดสัตว์ ไส้เดือน แมลง ประเภทพืชได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว กากถั่ว กากมัน แป้งข้าวโพด 4. ปลาสวาย กินพืช ไรน้ำ ตัวปลวก หนอน รำ เศษเนื้อ เศษอาหาร ผักสดที่มีเนื้ออ่อน เช่น ผักบุ้งและแหน กากมะพร้าวปลาป่น 5. ปลาเฉาหรือปลากินหญ้า กินหญ้าอ่อน แหน สาหร่าย หญ้ากก ผักบุ้ง ผักตบชวา รำ และข้าวสุก 6. ปลาลิ่นหรือปลาเกล็ดเงิน กินจุลินทรีย์ในน้ำ 7. ปลาซ่งหรือปลาหัวโต กินจุลินทรีย์ในน้ำ 8. ปลานวลจันทร์ทะเล กินจุลินทรีย์ในน้ำ ตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายและรำข้าว 9. ปลาแรด กินผักบุ้ง แหน จอก สาหร่าย หญ้า รากผักตบชวา ผักกระเฉด รำ ข้าวสุก และกากมะพร้าว 10. ปลาหมอตาล กินตะไคร่น้ำ แหน ไรน้ำ รำ ตัวปลวก แมลง และกุ้ง 11. ปลากระบอก กินจุลินทรีย์ในน้ำ ตะไคร่น้ำ สาหร่าย 12. ปลากะพงขาว เป็นปลากินเนื้อปลา กุ้ง เป็นอาหารอาหารธรรมชาติและแหล่งอาหาร 1. จุลินทรีย์ หมายถึง พืชและไรน้ำเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ในน้ำเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ หากต้องการเพิ่มจำนวนก็ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยพืชหมักใส่ลงไปในบ่อ 2. แหน เป็นพืชชนิดหนึ่งเกิดบนผิวน้ำในหนองบึงหรือบ่อที่น้ำนิ่งและในที่ๆ ได้รับแสงแดด เป็นพืช 3. ผักหญ้า ได้แก่ จอก สาหร่าย ผักกระเฉด ผักตบชวา ผักบุ้ง ผักกาด และหญ้าอ่อนๆ เช่น หญ้าแพรก หญ้าขน หญ้านวลน้อยที่ขึ้นอยู่ริมบ่อ รากผักเหล่านี้ก็ใช้เป็นอาหารของปลาบางชนิดได้ 4. ตะไคร่น้ำ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอาหารสมทบ 1. รำ นอกจากอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติในบ่อ ควรใช้รำเป็นอาหารเพิ่มเติมแก่ปลา เพื่อช่วยให้ปลาโตเร็ว โดยผสมปนกับผักบุ้งหรือสาหร่ายที่บดหรือสับละเอียด ปลาป่น เลือดสัตว์ด้วยก็ได้ คลุกจนเข้ากันดีให้เหนียวปั้นก้อนได้ 2. เศษเนื้อ เช่น เนื้อวัว หมู เป็ด ไก่ กุ้ง ปู และปลาบดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ 3. แมลง เช่น ตัวปลวก หนอน ตัวไหม แมลงและไข่ของแมลง เช่นไข่มดบางชนิด ตัวปลวก ส่วนแมลงอาจใช้ตะเกียงจุดล่อให้ตกลงในบ่อ 4. เศษอาหาร เช่น กากมะพร้าว ถั่ว ข้าวสุกและเศษอาหารเหลือผสมกับรำให้กิน 5. ปลาป่น ทำได้จากปลาราคาถูก ๆ อาจใช้เศษปลาตากแห้งแล้วบดหรือปลาป่นที่จำหน่ายเป็นอาหารไก่ใช้ปนกับรำหรือ ผักอาหารควรให้เป็นเวลาและประจำที่ เพื่อฝึกหัดปลาให้เคยชิน ถ้าได้ทำสัญญาณ เช่น ดีดน้ำหรือสาดน้ำก่อนให้ทุกครั้งปลาจะรู้ และอย่าทำให้ปลาตื่นตกใจ
การใส่ปุ๋ย ดินดีและน้ำดีมีส่วนช่วยให้ปลาโตเร็ว เช่นเดียวกับดินดีน้ำดีทำให้พืชผลงอกงาม ดังนั้น บ่อปลาจึงต้องการปุ๋ยเช่นเดียวกับที่นาที่สวน ปุ๋ยสำหรับใส่บำรุงบ่อปลา ใช้ได้ทั้งมูลสัตว์ตากแห้ง ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเหล่านี้ทำให้เกิดจุลินทรีย์ พืชและไรน้ำเล็กๆ ซึ่งเป็นอาหารธรรมชาติที่ดีของปลาและลูกปลาที่เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นปลาสลิด ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาไน และปลาจีน โดยเฉพาะลูกปลาวัยอ่อน นับว่าเป็นการเพิ่มอาหารทำให้ปลาเจริญเติบโต และเป็นการสะสมอาหารให้มีอยู่สม่ำเสมอในบ่อปลาแต่ปุ๋ยมีหลายชนิด และวิธีใช้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของปุ๋ยและอัตราส่วนที่เหมาะสม ดังนี้ 1. ปุ๋ยคอก ได้จากมูลสัตว์ เช่น โค กระบือ เป็ด ไก่ หมู และแพะ ควรตากให้แห้งก่อน ใช้ปุ๋ย 1 กก. ต่อเนื้อที่ 3 ตารางเมตร 2. กากถั่ว ได้จากถั่วเหลือง ถั่วลิสงที่คั้นเอาน้ำมันหรือเหลือจากทำขนมอัดเก็บเป็นแผ่นๆ ใช้กากถั่ว 1 กก. ต่อเนื้อที่ 20 ตารางเมตร 3. ปุ๋ยหมัก มีวิธีทำง่ายๆ โดยนำเศษหญ้า ฟาง หรือ ผักตบชวา กองรวมกันราดน้ำให้ชุ่ม แล้วโรยปุ๋ยคอก ปุ๋ยยูเรีย หรือปุ๋ยน้ำตาลทรายจะช่วยทำให้เป็นปุ๋ยหมักเร็วขึ้น ทำสลับกันเป็นชั้นๆ ราว 3 ชั้น นำดินโรยทับชั้นบนสุด รดน้ำให้ชุ่ม พอหน้าดินแห้งดีใช้ไม้ไผ่เสียบลงในกองปุ๋ย เพื่อให้อากาศในกองปุ๋ยถ่ายเทได้สะดวก ระวังอย่าให้กองปุ๋ยแห้งหรือแฉะเกินไป ควรพลิกกลับกองปุ๋ยทุกๆ 7-10 วัน ประมาณ 2-3 เดือน ก็ใช้ได้ ใช้ปุ๋ยหมัก 6 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร 4. ปูนขาว ได้จากเปลือกหอยหรือหินบด นำมาผสมกับปุ๋ยอื่นๆ ช่วยให้การใช้ปุ๋ยได้ผลดีอย่างรวดเร็ว ใช้ปูนขาว 1 กก. ต่อเนื้อที่ 50 ตารางเมตร หากดินค่อนข้างเป็นกรด (ดินเปรี้ยว)(pH ต่ำกว่า 7)ปุ๋ยแต่ละชนิดใช้ได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นบ่อใหม่หรือบ่อเก่า แต่ควรใส่เดือนละครั้ง สาดหรือโรยปุ๋ยให้ทั่วพื้นบ่อวิธีเลี้ยงปลา ปลาแต่ละชนิดก็มีลักษณะและการกินอยู่แตกต่างกัน ฉะนั้น ก่อนที่จะเลี้ยงปลาไม่ว่าชนิดใดก็ตาม ผู้เลี้ยงควรทราบลักษณะและนิสัยของปลานั้นๆ ก่อน การเลี้ยงปลาก็จะได้ผลดียิ่งขึ้นการขุดบ่อล่อปลา การขุดบ่อล่อปลาทำได้ง่ายกว่าการเลี้ยงปลา การล่อปลาอาศัยบ่อที่ขุดขึ้นเป็นเครื่องล่อจับปลาทุกชนิดที่เข้าบ่อ เมื่อน้ำท่วมทุ่ง ปลาจะเลี้ยงตัวให้โตสักระยะหนึ่ง พอน้ำลดปลาก็จะเข้ามารวมอยู่ในบ่อ ปลาที่ตกค้างอยู่ถูกจับเป็นอาหารประจำครัวเรือนและจำหน่ายเป็นอาชีพที่ช่วย ให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในทึ่ลุ่มใกล้ทางน้ำ และในเขตพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูน้ำหลากร่ำรวยขึ้นได้ ผู้ประสงค์จะขุดบ่อล่อปลาจะต้องพิจารณาว่า ที่ดินที่ตนจะขุดบ่อล่อปลานั้นเป็นที่ดินของเอกชน หรือเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพราะว่ากฎหมายกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ ไม่เหมือนกัน ถ้าที่ดินที่จะขุดบ่อล่อปลาเป็นที่ดินของเอกชนถือกรรมสิทธิ์ ผู้ขุดหรือสร้างบ่อล่อปลาไม่จำเป็นต้องขอรับอนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ แต่จะต้องระมัดระวังมิให้การขุดบ่อล่อปลานั้นเกิดการเสียหายแก่พันธุ์สัตว์ น้ำในที่รักษาพืชพันธุ์โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในการขุดบ่อล่อปลาดังนี้ คือขอบบ่อจะต้องอยู่ห่างจากตลิ่ง คัน หรือขอบแห่งทางน้ำ หรือที่จับสัตว์น้ำไม่น้อยกว่า 8 เมตร และต้องไม่ตั้งอยู่ในเขตหรือใกล้ชิดติดต่อกับที่จับสัตว์น้ำ ที่ว่าประมูล ที่อนุญาต ซึ่งอาจเป็นการเสียหายแก่ผู้รับอนุญาตรายอื่นได้ ถ้าที่ดินที่ขออนุญาตขุดหรือสร้างบ่อล่อปลามีทางน้ำติดต่อกับที่รักษา พืชพันธุ์ บ่อนั้นจะต้องอยู่ห่างจากเขตที่รักษาพืชพันธุ์ไม่น้อยกว่า 100 เมตร (ที่รักษาพืชพันธุ์ คือ ที่จับสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในบริเวณพระอารามปูชนียสถาน หรือติดกับเขตสถานที่ดังกล่าว บริเวณประตูระบายน้ำ ฝายทำนบ หรือที่ซึ่งเหมาะแก่การรักษาพืชพันธุ์สัตว์น้ำ) สำหรับการขุดหรือสร้างบ่อล่อปลาในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินก่อนขุดหรือ สร้างบ่อล่อปลา ผู้ขุดหรือสร้างจะต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ของทางราชการ (คำขอ 4 ) ต่อนายอำเภอท้องที่ เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะไปขุดหรือสร้างบ่อล่อปลาต่อไป หลังจากขุดหรือสร้างบ่อล่อปลาเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือเมื่อปลาเข้าไปในบ่อล่อจนได้ระยะเวลาครบกำหนดที่จะวิดจับ ปลา ก่อนวิดน้ำในบ่อล่อ ไม่ว่าจะอยู่ในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเอกชนเพื่อจับปลาในบ่อล่อปลา ผู้วิดน้ำจะต้องไปยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ของทางราชการ (คำขอ 3) ต่อนายอำเภอหรือปลั[คำไม่พึงประสงค์]ำเภอประจำกิ่งอำเภอหรือผู้ทำารแทนแล้ว แต่กรณีเพื่อขอรับใบอนุญาต (อนุญาต 3) และเสียเงินอากรการประมงตามเนื้อที่ของบ่อล่อปลาในอัตราตารางเมตรละ 25 สตางค์ อนึ่ง ผู้วิดน้ำจับปลาจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งกำหนดไว้ด้านหลังใบอนุญาตด้วย คือ ในการวิเคราะห์น้ำหรือทำให้น้ำในบ่อล่อปลาแห้งหรือลดน้อยลงเพื่อจับปลานั้น จะทำได้ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง เว้นแต่บ่อล่อสัตว์น้ำเค็มจึงจะทำได้มากกว่าปีละ 2 ครั้งวิธีขุดบ่อล่อปลา มีดังนี้ 1. เลือกที่อยู่ใกล้แม่น้ำหรือคูคลองที่มีน้ำขึ้นถึง 2. ขุดบ่อจะเป็นขนาดใดก็ได้ บ่อใหญ่ปริมาณปลามากขึ้นลักษณะบ่อควรเป็นสี่เหลี่ยมลึก 2 เมตร 3. ทำทางน้ำ 1 หรือ 2 ทาง ให้ติดต่อกับแหล่งน้ำ และลึกพอส่งน้ำเข้าบ่อได้สะดวก 4. ปักกิ่งไผ่เป็นกร่ำ หรือปลูกผักหญ้า เช่น ผักบุ้งและผักกระเฉดไว้ในบ่อให้เป็นที่ล่อปลาเข้ามาอาศัย 5. เมื่อปลาเข้าอยู่แล้วจึงให้อาหาร เช่น ข้าวสุก รำ และเศษอาหารบ้าง ซึ่งจะช่วยล่อให้ปลาเข้ามามากขึ้น การขุดบ่อล่อปลา ถ้าเป็นที่ชายทะเลก็จะได้ทั้งกุ้งและปลาทะเล บางแห่งได้กุ้งมากกว่าปลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น