วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชัง

การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชัง
การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังนั้นให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง ปลามีการเจริญเติบโตดี สะดวกในการจัดการทั้งการให้อาหารและดูแลสุขภาพ อีกทั้งยังทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ก่อนที่จะเลี้ยงจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจในการเลี้ยงอย่างถี่ถ้วน
สิ่งที่ควรคำนึงก่อนการเลี้ยง
ความพร้อมในด้านความรู้และการลงทุน
มีตลาดรองรับ
มีการวางโปรแกรมการผลิตที่ดี และต้องทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุด
ข้อดีของการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชัง
ให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง
ระยะเวลาในการเลี้ยงสั้น
ปลามีอัตราการเจริญเติบโตดี
สะดวกในการดูแลและจับปลา
การเลือกสถานที่
คุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องอยู่ในเกณฑ์ดีเนื่องจากเป็นการเลี้ยงแบบหนาแน่น
แหล่งน้ำควรมีค่าความเป็นกรดด่าง (พีเอช) ระหว่าง 7-8 มีค่าการส่องผ่านของแสงในน้ำระหว่าง 50-100 เซนติเมตร ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำไม่น้อยกว่า 5 มิลลิกรัม/ลิตร
สถานที่ที่เหมาะสม ได้แก่ แม่น้ำ เขื่อน ฝาย ซึ่งมีน้ำตลอดปี น้ำลึกมากกว่า 4 เมตร อากาศถ่ายเท และสะดวกในการดูแล
สถานที่ที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ใกล้ท่อระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม แหล่งชุมชน พื้นที่เกษตรกรรมที่มีการใช้สารเคมี บริเวณที่มีพืชน้ำ สาหร่าย หรือสิ่งสกปรกมาก น้ำไม่หมุนเวียนและการระบายอากาศไม่ดี









หลักในการพิจารณาเลือกทำเลที่เหมาะสม
การถ่ายเทของกระแสน้ำ การเลี้ยงปลาในกระชังอาศัยการถ่ายเทน้ำผ่านกระชัง พัดเอาน้ำดีเข้ามาใหม่และพัดพาของเสียออกไปนอกกระชัง ควรมีกระแสน้ำไหลและลมพัดแต่ไม่รุนแรงนัก ควรแขวนกระชังไว้ในที่โล่งแจ้ง ห่างไกลจากร่มไม้และไม่ควรมีพรรณไม้ใต้น้ำ การเลี้ยงปลาในอ่างเก็บน้ำ กระแสลมมีส่วนช่วยทำให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสน้ำ
ความลึกของแหล่งน้ำ ควรลึกพอสมควร พื้นกระชังห่างจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ของเสียรบกวนปลา
ห่างไกลจากสิ่งรบกวน ควรวางกระชังห่างไกลจากชุมชน เพื่อป้องกันการรบกวนปลาที่เลี้ยง เครียด ตกใจ ได้รับบาดเจ็บจากการว่ายชนกระชัง รบกวนการกินอาหารหรือติดเชื้อจากบาดแผลที่เกิดขึ้นได้
กระชัง
ขนาดกระชังที่เลี้ยงจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น 3x3x1.5, 3x3x2.5, 3x3x3, 4x4x2.5, 5x5x2.5, 6x4x2.5 ลูกบาศก์เมตร เป็นต้น
ขนาดกระชังมีผลโดยตรงต่อคุณภาพน้ำในกระชัง เนื่องจากอัตราส่วนระหว่างพื้นที่ผนังด้านข้างต่อปริมาตรของกระชังมีผลต่ออัตราการแลกเปลี่ยนน้ำจากภายนอกกับในกระชัง ดังนั้นกระชังที่มีอัตราส่วนระหว่างพื้นที่ผนังด้านข้างต่อปริมาตรกระชังสูง จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตของปลาดีและผลผลิตต่อปริมาตรกระชังสูง
วัสดุที่ใช้ทำกระชังจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ โครงกระชังอาจทำจากไม้ไผ่หรือเหล็กขึ้นอยู่กับทุนของเกษตรกรและความเหมาะสม โดยมีถังน้ำมันหรือถังสารเคมีทำเป็นทุ่น อวนที่ใช้เลี้ยงปลาอาจเป็นชั้นเดียวหรือสองชั้น โดยปกติจะใช้อวนขนาดตา 2-3 เซนติเมตร ทั้งนี้ขนาดตาของอวนจะต้องพิจารณาจากขนาดปลาที่ปล่อยด้วย ด้านบนกระชังจะมีอวนขนาด 7 เซนติเมตรปิดด้านบนกระชัง
























การวางกระชัง
ก้นกระชังต้องห่างจากพื้นดินมากกว่า 1 เมตร
ควรวางกระชังห่างจากขอบตลิ่งพอสมควร เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดมุมอับในการไหลของน้ำและลดภาวะเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำอย่างฉับพลันในขณะที่มีฝนตกชะล้างตะกอนหรือของเสียลงมา

แต่ละกระชังควรวางห่างกันอย่างน้อย 50 เซนติเมตร
หลังจัดวางกระชังเรียบร้อยแล้ว ควรมีระดับน้ำสำหรับให้ปลาอยู่ไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร
หากเลี้ยงในบริเวณที่มีกระแสน้ำไหล ควรวางกระชังขวางการไหลของน้ำ เพื่อให้เกิดการถ่ายเทของน้ำในกระชัง
ไม่ควรวางกระชังเป็นกลุ่มติดกันมาก เนื่องจากกระชังด้านในจะมีการไหลของน้ำผ่านน้อย การถ่ายเทของเสียมีน้อย ทำให้ได้ผลผลิตน้อย
การเตรียมลูกปลาก่อนลงกระชัง
ควรพิจารณาถึงคุณภาพของลูกปลา โดยซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เลี้ยงแล้วปลาโตดี ขนาดสม่ำเสมอ
ก่อนการขนส่ง จะต้องเตรียมปลาให้แข็งแรง โดยให้กินวิตามินซีผสมอาหารประมาณ 1 อาทิตย์ก่อนลงกระชัง
งดอาหารลูกปลา 1-2 วัน ก่อนลงกระชัง เพื่อลดการเกิดของเสียในการขนส่งรวมทั้งทำให้อัตราการตายของปลาหลังปล่อยลดลง





















การขนส่งลูกปลา
สามารถขนส่งลูกปลาโดยบรรจุในถุงพลาสติกที่อัดออกซิเจนหรือขนส่งโดยภาชนะแบบเปิด เช่น ถังพลาสติกขนาดใหญ่ที่ให้อากาศหรือออกซิเจนระหว่างขนส่ง












ควรขนส่งในช่วงที่อากาศไม่ร้อน ซึ่งทำให้อัตราการตายของปลาหลังปล่อยต่ำลงหรือเสียหายน้อย
การลดอุณหภูมิของน้ำระหว่างขนส่ง จะทำให้ปลามีการเคลื่อนที่น้อยลงและลดความเครียด ซึ่งทำได้โดยการเติมน้ำแข็งลงไป จนได้อุณหภูมิ 24 องศาเซลเซียส
ในระหว่างการขนส่ง อาจใส่เกลือลงไป 0.1-0.5% ( เกลือ 1-5 กิโลกรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร ) เพื่อลดความเครียดของปลา รวมทั้งช่วยรักษาสมดุลย์ของเกลือแร่ในตัวปลา
ขนาดปลาและอัตราการปล่อย
ขนาดปลาที่ปล่อยโดยทั่วไป คือ 30-50 กรัม (20-30 ตัว/กิโลกรัม) อัตราการปล่อยโดยประมาณ 60-100 ตัว/ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพการไหลของกระแสน้ำ ปริมาณและคุณภาพน้ำ ฤดูกาล ขนาดกระชัง ระยะเวลาในการเลี้ยง ขนาดปลาที่จับ สายพันธุ์ และความชำนาญของเกษตรกรผู้เลี้ยง















การจัดการระหว่างการเลี้ยง
ควรตรวจสอบกระชังเพื่อซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดที่อาจเกิดจากวัสดุที่ลอยมาตามน้ำหรือปลาในธรรมชาติกัดกระชัง เช่น ปลาปักเป้า
ต้องทำความสะอาดกระชังและตาข่ายที่กั้นอาหารอย่างสม่ำเสมอหากมีการอุดตัน โดยใช้แปรงถูเพื่อลดการสะสมของเสียในกระชัง รวมทั้งให้การไหลของน้ำผ่านกระชังดีขึ้น

โครงการสาธิตและส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดิน

โครงการสาธิตและส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดิน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552


หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันปลานิลแปลงเพศ เป็นที่นิยมบริโภคของตลาดในท้องถิ่น ในเมือง และต่างประเทศ เป็นที่นิยมบริโภคในครัวเรือน เพราะเลี้ยงง่าย โตเร็ว เนื้อปลามีรสชาติอร่อย มีความทนทานต่อโรคพยาธิ และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี จึงเหมาะสมที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรได้เลี้ยงไว้บริโภค และจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้ ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงปลานิลแปลงเพศ อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ น้ำเขียว ซึ่งเป็นอาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วไปในแหล่งน้ำ โดยใช้ ปุ๋ยคอก ที่มีอยู่เกือบทุกครัวเรือน เป็นตัวเร่ง ให้เกิดน้ำเขียว และสามารถใช้ประโยชน์จากวัชพืชที่อยู่รอบ ๆ แหล่งน้ำ และฟางข้าวที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้ว นำมาทำ ปุ๋ยหมัก เป็นอาหารสมทบ ประกอบกับปัจจุบัน ทางราชการกำลังส่งเสริมให้เกษตรกร ทำการเกษตรแบบพอเพียง โครงการนี้จึงเหมาะสมที่ส่งเสริมให้เกษตรกร ได้เลี้ยงปลาในรูปแบบ การสร้างอาหารปลาจากธรรมชาติ และ อาหารสมทบ เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกร สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย ในการซื้ออาหารสำเร็จรูป ซึ่งมีราคาแพง เป็นการลงทุนค่อนข้างสูง ซึ่งถ้าเกษตรกรสามารถสร้างอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นเลี้ยงปลาได้เอง จะเป็น การประหยัดค่าใช้จ่าย และมีอาหารโปรตีนจากปลาบริโภคในครัวเรือนได้ตลอดปี สามารถเป็นบ่อสาธิต และแบบอย่างเผยแพร่ ให้ความรู้แก่เกษตรกรรายอื่น ๆ ได้อีกต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ เข้าใจ และสามารถในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
2. เพื่อให้เกษตรกรมีอาหารโปรตีนจากเนื้อปลาบริโภค อย่างเพียงพอตลอดปี
3. เพื่อเป็นการเสริมสร้างรายได้ ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และสร้างอาชีพเสริมให้กับเกษตรกร
4. เพื่อส่งเสริมให้เป็นจุดสาธิต การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดิน ในหมู่บ้านได้

เป้าหมาย
เกษตรกรที่มีบ่อเลี้ยงปลา และขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแล้ว สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ของตำบลหนองบัวแดงและตำบลนางแดด จำนวน 4 หมู่บ้าน รวมจำนวน 50 ราย / 50 บ่อ






- 2 -

ระยะเวลาดำเนินการ
เดือนตุลาคม 2551 - กันยายน 2552

สถานที่ดำเนินการ
เกษตรกรตำบลหนองบัวแดง และต.นางแดด อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ จำนวน 50 ราย /50 บ่อ
- บ้านราษฎร์ดำเนิน ม. 2 ต. หนองบัวแดง จำนวน 15 ราย
- บ้านลาดเหนือ ม. 4 ต. หนองบัวแดง จำนวน 10 ราย
- บ้านโนนเหม่า ม. 3 ต. นางแดด จำนวน 15 ราย
- บ้านใหม่สำราญ ม. 10 ต. นางแดด จำนวน 5 ราย
- บ้านโนนเหม่า (2 ) ม.18 ต.นางแดด จำนวน 5 ราย
รวมทั้งสิ้น 50 ราย
วิธีดำเนินการ
1. คัดเลือกเกษตรกร ที่มีบ่อเลี้ยงปลา และขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่ใกล้แหล่งน้ำหรือ สามารถถ่ายเทน้ำได้ มีความตั้งใจและมี ความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ เก็บข้อมูลผลผลิต การเลี้ยง ฯ
2. ฝึกอบรมเกษตรกร ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลา และการสร้างอาหารธรรมชาติ จำนวน 1 วัน
3. จัดเตรียมบ่อเลี้ยงปลา โดยเจ้าหน้าที่ประมง ให้คำแนะนำในการเตรียมบ่อที่ถูกต้อง
4. เกษตรกรสร้างอาหารธรรมชาติในบ่อ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่นของตนเอง เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก
5. นำลูกปลานิลแปลงเพศ ขนาด 3- 5 ซม. จำนวน 800 ตัว / ราย โดยใช้มุ้งเขียวกั้นเป็นคอก บริเวณมุมบ่อ แล้วใช้อาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน จำนวน 20 กก./ราย มอบให้เกษตรกรอนุบาลเลี้ยงในระยะแรก บ่อปลาก็เตรียมน้ำเขียวไว้แล้ว
6. อนุบาลประมาณ 30 วัน ก็ปล่อยลูกปลาออกจากคอกที่อนุบาล เพื่อเลี้ยงในบ่อดินโดยให้กินน้ำเขียวที่เตรียมไว้ และเลี้ยงด้วยน้ำ เขียวอีกประมาณ 5 เดือน โดยระหว่างนี้ เกษตรกรสามารถนำอาหารสมทบอย่างอื่นมาเลี้ยงได้
7. เกษตรกรผู้ร่วมโครงการเกษตรกรจะต้องดูแลน้ำในบ่อให้น้ำเขียวอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นอาหารของปลา โดยการทำปุ๋ยหมัก หรือใส่ปุ๋ยขี้ไก่ 80 ก.ก./ไร่/สัปดาห์ หรืออาจจะใช้ปุ๋ยคอกชนิดอื่นแทนก็ได้ และใช้น้ำสารสกัดชีวภาพ (EM) ผสมน้ำสาดให้ทั่วบ่อ จำนวน 1 ลิตร / ไร่ / 2 สัปดาห์ ในระหว่างที่เลี้ยงปลาเกษตรกรจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง
8. เจ้าหน้าที่ประมง ติดตามให้คำแนะนำส่งเสริม อย่างต่อเนื่อง





- 3 -


ผลผลิตของโครงการ
1. เกษตรกรมีความรู้ ความสามารถในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 50 ราย
2. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับโปรตีนจากสัตว์น้ำ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 3. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ มีรายได้เพิ่มขึ้น และลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

ผลลัพธ์ของโครงการ
- เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านประมง และการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ ในแต่ละหมู่บ้าน จำนวน...1.. แห่ง/ตำบล

งบประมาณดำเนินการ จากสำนักงานประมงจังหวัดชัยภูมิ

มายเหตุ - การฝึกอบรม ตามหลักสูตรดังต่อไปนี้
ก. ความรู้ทั่วไป
- การจัดทำบัญชีฟาร์ม/การบันทึกผลการดำเนินงาน
- ความรู้ด้านอื่นๆ ตามความเหมาะสม
ข. ความรู้ด้านวิชาการประมง
- การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดิน
- หลักการทำอาหารสัตว์น้ำแบบพื้นบ้าน , การสร้างอาหารธรรมชาติ
- การป้องกันและรักษาโรคสัตว์น้ำ
- การวางแผนการผลิตสัตว์น้ำ
- การอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
- การติดตามให้คำแนะนำส่งเสริม

- ติดตามอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อให้คำแนะนำอย่างถูกต้องในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยติดตามตั้งแต่เริ่มโครงการฯ ตลอดจนถึงการเลี้ยงสัตว์น้ำ- จับสัตว์น้ำ และติดตามประเมินผลผลิต การจับบริโภค ซื้อขาย รายได้ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรค ในการประกอบกิจกรรมตามโครงการฯ




ผู้รับผิดชอบโครงการ
- สำนักงานประมงอำเภอหนองบัวแดง - สำนักงานประมงจังหวัดชัยภูมิ
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เกษตรกรที่ร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ ในการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ เป็นอาชีพเสริม และนำไปสู่การพัฒนา เป็นอาชีพหลักได้
2. เกษตรกรในหมู่บ้าน และบริเวณใกล้เคียงมีอาหารโปรตีน จากปลาบริโภคเพิ่มขึ้น
3. เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถเป็นจุดสาธิต และแบบอย่างขยายผล แก่เกษตรกรรายอื่นได้
4. เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถสร้างอาหารธรรมชาติเลี้ยงปลา แบบประหยัดต้นทุนได้เอง

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเพาะเลี้ยงปลานิล

ปลานิล Oreochromis nilotica เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ การเพาะเลี้ยงในระยะเวลา 8 เดือน – 1 ปี สามารถเจริญเติบโตได้ถึงขนาด 500 กรัม เนื้อปลามีรสชาติดี มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง ขนาดปลานิลที่ตลาดต้องการจะมีน้ำหนักตัวละ 200 – 300 กรัม จากคุณสมบัติของปลานิลซึ่งเลี้ยงง่ายเจริญเติบโตเร็วแต่ปัจจุบันปลานิลพันธุ์แท้ค่อนข้างจะหายาก เพื่อให้ได้ปลานิลพันธุ์ดีกรมประมงจึงได้ดำเนินการ ปรับปรุงพันธุ์ปลานิลในด้านต่างๆอาทิ เจริญเติบโตเร็ว ปริมาณความดกของไข่สูง ให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง เป็นต้น ดังนั้นผู้เลี้ยงปลานิลจะได้มีความมั่นใจในการเลี้ยงปลานิจเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอต่อการบริโภคต่อไป

ความเป็นมา
สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงจัดส่งปลานิลจำนวน 50 ตัวความยาวเฉลี่ยประมาณตัวละ 9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 14 กรัม มาทูลเกล้าฯถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 นั้น ในระยะแรกได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ปล่อยบ่อดิน เนื้อที่ประมาณ 10 ตารางเมตร ณ บริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อเลี้ยงมาได้ 5 เดือนเศษ ปรากฏว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ที่สวนหลวงขุดบ่อใหม่ขึ้น 6 บ่อ มีเนื้อที่เฉลี่ยบ่อละ 70 ตารางเมตร ซึ่งในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ายพันธุ์ปลาด้วยพระองค์เองจากบ่อเดิมไปปล่อยเลี้ยงในบ่อใหม่ทั้ง 6 บ่อ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2508 ต่อจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมประมงจัดส่งเจ้าหน้าที่วิชาการมาตรวจสอบการเจริญเติบโตเป็นประจำทุกเดือน
โดยที่ปลาชนิดนี้เป็นจำพวกกินพืช เลี้ยงง่าย มีรสชาติดี ออกลูกดก เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ในเวลา 1 ปี จะมีน้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม และมีความยาวประมาณ 1 ฟุต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ปลาชนิดนี้แพร่ขยายพันธุ์ อันจะเป็นประโยชน์แก่พสกนิกรของพระองค์ต่อไป ดังนั้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2509 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า “ปลานิล” และได้พระราชทานปลานิลขนาดยาว 3 – 5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว ให้แก่กรมประมงนำไปเพาะเลี้ยงขยายพันธ์ที่แผนกทดลองและเพาะเลี้ยงในบริเวณเกษตรกลาง บางเขนและที่สถานีประมงต่างๆทั่วราชอาณาจักร รวม 15 แห่ง เพื่อดำเนินการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์พร้อมกัน เมื่อปลานิลแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้มากเพียงพอแล้วจึงได้แจกจ่ายให้แก่ราษฎรนำไปเพาะเลี้ยงตามพระราชประสงค์ต่อไป
รูปร่างลักษณะ
ปลานิลเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลซิคลิดี(Cichlidae) มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบ ในประเทศซูดาน ยูกันดา แทนแกนยีกา โดยที่ปลานิลชนิดนี้เจริญเติบโตเร็วและเลี้ยงง่าย เหมาะสมที่จะนำมาเพาะเลี้ยงในบ่อได้เป็นอย่างดี จึงได้รับความนิยมและเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในภาคพื้นเอเชีย แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็นิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้
รูปร่างลักษณะของปลานิลคล้ายกับปลาหมอเทศ แต่ลักษณะพิเศษของปลานิลมีดังนี้คือ ริมฝีปากบนและร่างเสมอกัน ที่บริเวณแก้มมีเกล็ด 4 แถว ตามลำตัวมีลายพาดขวางจำนวน 9 – 10 แถบ นอกจากนั้นลักษณะทั่วไปมีดังนี้ ครีบหลังมีเพียง 1 ครีบ ประกอบด้วยก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อนเป็นจำนวนมาก ครีบก้นประกอบด้วยก้านครีบแข็งและอ่อนเช่นกัน มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 33 เกล็ด ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล ตรงกลางเกล็ดมีสีเข้ม ที่กระดูกแก้มมีจุดสีเข้มอยู่จุดหนึ่งบริเวณส่วนอ่อนของครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางนั้นจะมีจุดสีขาวและสีดำตัดขวางแลดูคล้ายลายข้าวตรอกอยู่โดยทั่วไป
ต่อมากรมประมงโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาและพันธุกรรมสัตว์น้ำได้นำปลานิลสายพันธุ์แท้มีชื่อว่าปลานิลสายพันธุ์จิตรลดาไปดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ได้ปลานิลสายพันธุ์ใหม่ จำนวน 3 สายพันธุ์ ดังนี้
1. ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 1 เป็นปลานิลที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากปลานิลสายพันธ์แบบคัดเลือกภายในครอบครัว (within family selection) เริ่มดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบันเป็นชั่วอายุที่ 7 ซึ่งทดสอบพันธุ์แล้วพบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าปลานิลพันธุที่เกษตรกรเลี้ยง 22 %
2. ปลานิลสายพันธุ์จิตลดา 2 เป็นปลานิลที่พัฒนาพันธุ์มาจากปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา โดยการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมในพ่อพันธุ์ให้มีโครโมโซมเป็น "YY" ที่เรียกว่า "YY - Male" หรือซุปเปอร์เมล ซึ่งเมื่อนำพ่อพันธุ์ดังกล่าวไปผสมพันธุ์กับแม่พันธุ์ปรกติจะได้ลูกปลานิลเพศผู้ที่เรียกว่า "ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 2 " ซึ่งมีลักษณะเด่นคือเป็นเพศผู้ที่มีโครโมโซมเพศเป็น "XY" ส่วนหัวเล็กลำตัวกว้าง สีขาวนวล เนื้อหนาและแน่น รสชาติดี อายุ 6 – 8 เดือน สามารถเจริญเติบโตได้ขนาด 2 – 3 ตัวต่อกิโลกรัม ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 45 %
3. ปลานิลสายพันธุจิตรลดา 3 เป็นปลานิลที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากการนำปลานิลพันธุ์ผสมกลุ่มต่างๆที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลานิลสายพันธุ์จิตรลดาและปลานิลสายพันธุ์อื่นๆ อีก 7 สายพันธุ์ ได้แก่ อียิปต์ กานา เคนยา สิงคโปร์ เซเนกัล อิสราเอล และไต้หวันซึ่งมีการเจริญเติบโตเร็วและมีอัตรารอดสูง ในสภาพแวดล้อมการเลี้ยงต่างๆ ไปสร้างเป็นประชากรพื้นฐาน จากนั้นจึงดำเนินการคัดพันธุ์ในประชากรพื้นฐานต่อโดยวิธีดูลักษณะครอบครัวร่วมกับวิธีดูลักษณะภายในครอบครัว ปลานิลชั่วอายุที่ 1 – 5 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์โดยหน่วยงาน ICLARM ในประเทศฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงนำลูกปลาชั่วอายุที่ 5 เข้ามาในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2538 สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำจึงดำเนินการปรับปรุงปลาพันธุ์ดังกล่าวต่อ โดยวิธีการเดิมจนในปัจจุบันได้ 2 ชั่วอายุ และเรียกว่า "ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 3 " ปลาสายพันธุ์นี้มีลักษณะเด่นคือ ส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สีเหลืองนวล เนื้อหนาและแน่น รสชาติดี อายุ 6 – 8 เดือน สามารถเจริญเติบโตได้ขนาด 3 – 4 ตัวต่อกิโลกรัม ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 40 %
ปัจจุบันสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำได้กระจายพันธุ์ปลานิลทั้ง 3 สายพันธุ์ ไปสู่ภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ เพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยงแล้ว โดยหน่วยงานของสถาบันฯในจังหวัดปทุมธานีและหน่วยพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำจืดพิษณุโลก ขอนแก่น และสุราษฏร์ธานี นอกจากนี้ยังดำเนินการดำรงสายพันธุ์และทดสอบพันธุ์ปลานิลดังกล่าวด้วย

คุณสมบัติและนิสัย
ปลานิลมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง (ยกเว้นเวลาสืบพันธุ์) มีความอดทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จากการศึกษาพบว่า ปลานิลทนต่อความเค็มได้ถึง 20 ส่วนในพันส่วน ทนต่อค่าความเป็นกรด – ด่าง (pH) ได้ดีในช่วง 6.5 – 8.3 และสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 40 องศาเซลเซียส แต่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสพบว่าปลานิลปรับตัวและเจริญเติบโตได้ไม่ดีนักทั้งนี้เป็นเพราะถิ่นกำเนิดเดิมของปลาชนิดนี้อยู่ในเขตร้อน

การสืบพันธุ์
1. ลักษณะ ตามปกติแล้วรูปร่างภายนอกของปลานิลตัวผู้และตัวเมีย จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แต่จะสังเกตลักษณะเพศได้ก็โดยการดูอวัยวะเพศที่บริเวณใกล้กับช่องทวาร โดยตัวผู้จะมีอวัยวะเพศในลักษณะเรียวยาวยื่นออกมา แต่สำหรับตัวเมียจะมีลักษณะเป็นรูค่อนข้างใหญ่และกลม ขนาดปลาที่จะดูเพศได้ชัดเจนนั้นต้องเป็นปลาที่มีขนาดความยาวตั้งแต่10 เซนติเมตรขึ้นไป สำหรับปลาที่มีขนาดโตเต็มที่นั้นเราจะสังเกตเพศได้อีกวิธีหนึ่งด้วยการดูสีที่ลำตัวซึ่งปลาตัวผู้ที่ใต้คางและลำตัวจะมีสีเข้มต่างกับตัวเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูผสมพันธุ์สีจะยิ่งเข้มขึ้น
2. การผสมพันธุ์และวางไข่ ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปีโดยใช้เวลา 2 – 3เดือน/ครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสมในระยะเวลา 1 ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5 – 6 ครั้ง ขนาดอายุและช่วงการสืบพันธุ์ของปลาแต่ละตัวจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม และสภาพทางสรีรวิทยาของปลาเอง การวิวัฒนาการของรังไข่และถุงน้ำเชื่อของปลานิล พบว่าปลานิลจะมีไข่และน้ำเชื่อเมื่อมีความยาว 6.5 ซม. โดยปรกติปลานิลที่ยังโตไม่ได้ขนาดผสมพันธุ์หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมเพื่อการวางไข่ ปลารวมกันอยู่เป็นฝูง แต่ภายหลังที่ปลามีขนาดที่จะสืบพันธุ์ได้ปลาตัวผู้จะแยกออกจากฝูงแล้วเริ่มสร้างรังโดยเลือกเอาบริเวณเชิงลาดหรือก้นบ่อที่มีระดับน้ำลึกระหว่าง 0.5 – 1 เมตร วิธีการสร้างรังนั้นปลาจะปักหัวลง โดยที่ตัวของมันอยู่ในระดับที่ตั้งฉากกับพื้นดิน แล้วใช้ปากพร้อมกับการเคลื่อนไหวของลำตัวเพื่อเขี่ยดินตะกอนออกจากนั้นจะอมดินตะกอนงับเศษสิ่งของต่างๆออกไปทิ้งนอกรังทำเช่นนี้จนกว่าจะได้รังที่มีลักษณะค่อนข้างกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 – 35 ซม. ลึกประมาณ 3 – 6 ซม. ความกว้างและความลึกของรังไข่ขึ้นอยู่กับขนาดของพ่อปลาหลังจากสร้างรังเรียบร้อยแล้วมันพยายามไล่ปลาตัวอื่นๆ ให้ออกไปนอกรัศมีของรังไข่ประมาณ2–3เมตรขณะเดียวกันพ่อปลาที่สร้างรังจะแผ่ครีบหางและอ้าปากกว้าง ในขณะที่ปลาตัวเมียว่ายน้ำอยู่ใกล้ๆรัง และเมื่อเลือกตัวเมียได้ถูกใจแล้วก็แสดงอาการจับคู่ โดยว่ายน้ำเคล้าคู่กันไปโดยใช้หางดีดและกัดกันเบาๆ การเคล้าเคลียดังกล่าวใช้เวลาไม่นานนัก ปลาตัวผู้ก็จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมียเพื่อเป็นการกระตุ้นเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ซึ่งตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 10 – 15 ฟอง ปริมาณไข่รวมกันแต่ละครั้งมีปริมาณ 50 – 600 ฟอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลา เมื่อปลาวางไข่แต่ละครั้งปลาตัวผู้จะว่ายไปเหนือไข่พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อลงไปทำเช่นนี้จนกว่าการผสมพันธุ์แล้วเสร็จโดยใช้เวลา 1 – 2 ชั่วโมง ปลาตัวเมียเก็บไข่ที่ได้รับการผสมแล้วอมไว้ในปากและว่ายออกจากรังส่วนปลาตัวผู้ก็จะคอยหาโอกาสเค้าเคลียกับปลาตัวเมียอื่นต่อไป
3. การฟักไข่ ไข่ปลาที่อมไว้โดยปลาตัวเมียจะวิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ แม่ปลาจะขยับปากให้น้ำไหลเข้าออกในช่องปากอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้ไข่ที่อมไว้ได้รับน้ำที่สะอาด ทั้งยังเป็นการป้องกันศัตรูที่จะมากินไข่ ระยะเวลาฟักไข่ที่ใช้แตกต่างกันตามอุณหภูมิของน้ำ สำหรับน้ำที่มีอุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ไข่จะมีวิวัฒนาการเป็นลูกปลาวัยอ่อนภายใน 8 วัน ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าวถุงอาหารยังไม่ยุบ และจะยุบเมื่อลูกปลามีอายุครบ 13 – 14 วัน นับจากวันที่แม่ปลาวางไข่ ในช่วงระยะเวลาที่ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆ ลูกปลานิลวัยอ่อนจะเกาะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม โดยว่ายวนเวียนอยู่บริเวณหัวของแม่ปลา และเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปากเมื่อมีภัย หรือถูกรบกวนโดยปลานิลด้วยกันเอง เมื่อถุงอาหารยุบลงลูกปลานิลจะเริ่มกินอาหารจำพวกพืชและไรน้ำขนาดเล็กได้ และหลังจาก 3 สัปดาห์แล้วลูกปลาก็จะกระจายแตกฝูงไปหากินเลี้ยงตัวเองได้โดยลำพัง

การเพาะพันธุ์ปลานิล
การเพาะพันธุ์ปลานิลให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพต้องได้รับการเอาใจใส่และมีการปฏิบัติด้านต่างๆ เช่น การเตรียมบ่อ การเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ การตรวจสอบลูกปลาและการอนุบาลลูกปลาและการอนุบาลลูกปลาสำหรับการเพาะพันธุ์ปลานิลอาจทำได้ทั้งในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ และกระชังไนลอนตาถี่ ดังวิธีการต่อไปนี้
1. การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์
1.1 บ่อดิน บ่อเพาะปลานิลควรเป็นบ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีเนื้อที่ตั้งแต่ 50–1,600 ตารางเมตร สามารถเก็บกักน้ำได้สูง 1 เมตร บ่อควรมีเชิงลาดตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันดินพังทลาย และมีชานบ่อกว้าง 1 – 2 เมตร ถ้าเป็นบ่อเก่าก็ควรวิดน้ำและสาดเลนขึ้นตกแต่งภายในบ่อให้ดินแน่น ใส่โล่ติ๊นกำจัดศัตรูของปลาในอัตราส่วนโล่ติ๊นแห้ง 1 กก./ ปริมาตรของน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร โรยปูนขาวให้ทั่วบ่อ 1 กก./พื้นที่บ่อ 10 ตรม. ใส่ปุ๋ยคอกแห้ง 300 กก./ไร่ ตากบ่อทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 วัน จึงเปิดหรือสูบน้ำเข้าบ่อผ่านผ้ากรองหรือตะแกรงตาถี่ให้มีระดับสูงประมาณ 1 เมตร การใช้บ่อดินเพาะปลานิล จะมีประสิทธิภาพดีกว่าวิธีอื่น เพราะเป็นบ่อที่มีลักษณะคล้ายคลึงตามธรรมชาติ และการผลิตลูกปลานิลจากบ่อดินจะได้ผลผลิตสูงและต่ำกว่าต้นทุนกว่าวิธีอื่น
1.2 บ่อซีเมนต์ ก็สามารถใช้ผลิตลูกปลานิลได้ รูปร่างของบ่อจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือทรงกรมก็ได้ มีความลึกประมาณ 1 เมตร พื้นที่ผิวน้ำตั้งแต่ 10 ตารางเมตรขึ้นไป ทำความสะอาดบ่อและเติมน้ำที่กรองด้วยผ้าไนลอนหรือมุ้งลวดตาถี่ให้มีระดับความสูงประมาณ 80 ซม. ถ้าใช้เครื่องเป่าลมช่วยเพิ่มออกชิเจนในน้ำจะทำให้การเพาะพันธุ์ปลานิลด้วยวิธีนี้ได้ผลมากขึ้น
อนึ่ง การเพาะปลานิลในบ่อซีเมนต์ ถ้าจะให้ได้ลูกปลามากก็ต้องใช้บ่อขนาดใหญ่ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนสูง
1.3 กระชังไนลอนตาถี่ ขนาดของกระชังที่ใช้ประมาณ 5x8x2 เมตร วางกระชังในบ่อดินหรือในหนอง บึง อ่างเก็บน้ำ ให้พื้นกระชังอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำประมาณ 1 เมตร ใช้หลักไม้ 4 หลัก ผูกตรงมุม 4 มุม ยึดปากและพื้นกระชังให้แน่นเพื่อให้กระชังขึงตึงการเพาะพันธุ์ปลานิลด้วยวิธีนี้มีความเหมาะสมที่จะใช้ผลิตลูกปลาในกรณีซึ่งเกษตรกรไม่มีพื้นที่

2. การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
การคัดเลือกพ่อแม่ปลานิล โดยการสังเกตลักษณะภายนอก ของปลาที่สมบูรณ์ ปราศจากเชื้อโรคและบาดแผล สำหรับพ่อแม่ปลาที่พร้อมจะวางไข่นั้นสังเกตได้จากอวัยวะเพศ ถ้าเป็นปลาตัวเมียจะมีสีชมพูแดงเรื่อ ส่วนปลาตัวผู้ก็สังเกตได้จากสีของปลาตัวผู้และตัวควรมีขนาดไล่เลี่ยกันคือมีความยาวตั้งแต่ 15 – 25 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 150 – 200 กรัม
3. อัตราส่วนที่ปล่อยพ่อแม่ปลาลงเพาะพันธุ์
ปริมาณพ่อแม่ปลาที่จะนำไปปล่อยในบ่อเพาะ 1 ตัว/4 ตารางเมตร หรือไร่ละ 400 ตัว ควรปล่อยในอัตราส่วนพ่อปลา 2 ตัว/ปลา 3 ตัว จากการสังเกตพฤติกรรมในการผสมพันธุ์ของปลาชนิดนี้ ปลาตัวผู้มีสรรถภาพที่จะผสมพันธุ์กับปลาตัวเมียอื่นๆ ได้อีก ดังนั้นการเพิ่มอัตราส่วนของปลาตัวเมียให้มากขึ้นก็จะทำให้ได้ลูกปลานิลเพิ่มขึ้น ส่วนการเพาะปลานิลในกระชังใช้อัตราส่วนปลา 6 ตัว / ตารางเมตร โดยใช้ตัวผู้ 1 ตัว / ตัวเมีย 3 – 5 ตัว การเพาะปลานิลแต่ละรุ่นจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน จึงเปลี่ยนพ่อแม่ปลารุ่นใหม่ต่อไป

4. การให้อาหารและปุ๋ยในบ่อเพาะพันธุ์
การเลี้ยงปลานิลมีความจำเป็นที่ต้องให้อาหารสมทบหรืออาหารผสม ได้แก่ ปลายข้าว สาหร่าย รำละเอียด ในอัตราส่วน 1 : 2 : 3 โดยให้อาหารดังกล่าวแก่พ่อแม่ปลานิลประมาณ 2% ของน้ำหนักตัว ทั้งนี้เพื่อให้ปลานิลใช้เป็นพลังงานซึ่งต้องใช้พลังงานมากกว่าในช่วงการผสมพันธุ์ ส่วนปุ๋ยคอกแห้งก็ต้องใส่ในอัตราส่วนประมาณ 100 – 200 กก./ ไร่ / เดือน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มปริมาณอาหารธรรมชาติในบ่อ ได้แก่ พืชน้ำขนาดเล็กๆไรน้ำและตัวอ่อน อันจะเป็นประโยชน์ต่อลูกปลานิลวัยอ่อนภายหลังที่ถุงอาหารยุบตัวลง และจะต้องดำรงชีวิตอยู่ในบ่อเพาะดังกล่าวประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนย้ายไปเลี้ยงในบ่ออนุบาล ถ้าในบ่อขาดอาหารธรรมชาติดังกล่าว ผลผลิตลูกปลานิลจะได้น้อยเพราะขาดอาหารที่จำเป็นเบื้องต้น หลังจากถุงอาหารได้ยุบลงใหม่ๆ ก่อนที่ลูกปลานิลจะสามารถกินอาหารสมทบอื่นๆได้อาหารสมทบที่หาได้ง่ายคือ รำข้าว ซึ่งควรปรับปรุงคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นโดยใช้ปลาป่น กากถั่ว และวิตามินเป็นส่วนผสม นอกจากนี้แหนเป็ดและสาหร่ายบางชนิดก็สามารถใช้เป็นอาหารเสริมแก่พ่อแม่ปลานิลได้เป็นอย่างดีในกรณีที่ใช้กระชังไนลอนตาถี่เพาะพันธุ์ปลานิลก็ควรให้อาหารสมทบแก่พ่อแม่ปลาอย่างเดียว

การอนุบาลลูกปลานิล
บ่อดิน
1. บ่อดิน บ่อดินควรมีขนาดประมาณ 200 ตรม. ถ้าเป็นบ่อรูปสามเหลี่ยมผืนผ้าจะสะดวกในการจับย้ายลูกปลา น้ำในบ่อควรมีระดับความลึกประมาณ 1 เมตร บ่ออนุบาลปลานิลควรเตรียมไว้ให้มีจำนวนมากพอเพื่อให้เลี้ยงลูกปลาขนาดเดียวกันที่ย้ายมาจากบ่อเพาะการเตรียมบ่อเพาะการเตรียมบ่ออนุบาลควรดำเนินการล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์ บ่อขนาดดังกล่าวนี้จะใช้อนุบาลลูกปลานิลขนาด 1 – 2 ซม. ได้ครั้งละประมาณ 50,000 ตัว
การอนุบาลลูกปลานิล นอกจากใช้ปุ๋ยเพาะอาหารธรรมชาติ แล้วจำเป็นต้องให้อาหารสมทบ เช่น รำละเอียด กากถั่วอีกวันละ 2 ครั้ง พร้อมทั้งสังเกตความอุดมสมบูรณ์ของอาหารธรรมชาติจากสีของน้ำซึ่งมีสีเขียวอ่อน หรือจะใช้ถุงลากแฟรงก์ตอนตรวจดูปริมาณของไรน้ำก็ได้ ถ้ามีปริมาณน้อยก็ควรเติมปุ๋ยคอก ในช่วงเวลา 5 – 6 สัปดาห์ ลูกปลาจะโตมีขนาด 3 – 5 ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมจะนำไปเลี้ยงเป็นปลาใหญ่ นาข้าว
2. นาข้าว ใช้เป็นบ่ออนุบาลโดยนาข้าวที่ได้เสริมคันดินให้แน่น เพื่อเก็บกักน้ำให้มีระดับความสูงประมาณ 50 ซม. โดยใช้ดินที่ขุดขึ้นรอบคันนาไปเสริม ซึ่งจะมีคูขนาดเล็กโดยรอบพร้อมบ่อขนาดเล็กประมาณ 2x5 เมตร ลึก 1 เมตร ให้ด้านคันนาที่ลาดเอียงต่ำสุดเป็นที่รวบรวมลูกปลาขณะจับ พื้นที่นาดังกล่าวก็จะเป็นนาอนุบาลลูกปลานิลได้หลังจากปักดำข้าว 10 วัน หรือภายหลังที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ส่วนการให้อาหารและปุ๋ย ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับบ่ออนุบาล การป้องกันศัตรูของปลานิลในนาข้าวควรใช้อวนไนลอนตาถี่สูงประมาณ 1 เมตร ทำเป็นรั้วล้อมรอบเพื่อป้องกันศัตรูของปลาจำพวก กบ งู เป็นต้น


บ่อซีเมนต์ 3. บ่อซีเมนต์ บ่ออนุบาลปลานิลและบ่อเพาะปลานิลจะใช้บ่อเดียวกันก็ได้ ซึ่งสามารถใช้อนุบาลลูกปลาวัยอ่อนได้ตารางเมตรละประมาณ 300 ตัว เป็นเวลา 4 – 6 สัปดาห์ โดยใช้เครื่องเป่าลมช่วยและเปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณครึ่งบ่อสัปดาห์ละครั้ง ให้อาหารสมทบวันละ 3 เวลา ลูกปลาที่เลี้ยงจะเติบโตขึ้นมีขนาด 3 – 5 ซม.


กระชังไนลอนตาถี่ 4. กระชังไนลอนตาถี่ ขนาด 3x3x2 เมตร สามารถใช้อนุบาลลูกปลาวัยอ่อนได้ครั้งละจำนวน 3,000 – 5,000 ตัว โดยให้ไข่แดงต้มบดให้ละเอียด วันละ 3 – 4 ครั้ง หลังจากถุงอาหารของลูกปลายุบตัวลงใหม่ๆ เป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงให้รำละเอียดอัตรา 1 ส่วนติดต่อกันเป็นระยะเวลาประมาณ 4-5 สัปดาห์ ลูกปลาจะโตขึ้นมีขนาด 3 – 5 ซม. ซึ่งสามารถนำไปเลี้ยงเป็นปลาขนาดใหญ่หรือจำหน่ายให้แก่ผู้เลี้ยงปลา
การอนุบาลลูกปลานิลอาจจะใช้บ่อเพาะพันธุ์อนุบาลปลานิลเลยก็ได้เพื่อเป็นการประหยัดโดยช้อนเอาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ออกไปเลี้ยงไว้ต่างหาก

การเลี้ยง
ปลานิลเป็นปลาที่ประชาชนนิยมเลี้ยงกัน มากชนิดหนึ่งทั้งในรูปแบบการค้า และเลี้ยงไวบริโภคในครัวเรือน ทั้งนี้เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินอาหารได้แทบทุกชนิด เนื้อมีรสชาติดีตลาดมีความต้องการสูง การเลี้ยงปลาชนิดนี้เพื่อผลิตจำหน่าย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาช่วยลดต้นทุนการผลิตให้มากที่สุดในเรื่องอาหารปลาที่จะนำใช้เลี้ยง กล่าวคือต้องเป็นอาหารที่หาได้ง่าย ราคาต่ำ นอกจากนั้นการเลี้ยงปลาชนิดนี้มีความจำเป็นในด้านการจัดการฟอร์มที่เหมาะสม เพราะปลานิลเป็นปลาที่ออกลูกดกถ้าปลาในบ่อมีความหนาแน่นมากก็จะไม่เจริญเติบโต ดังนั้นการเลี้ยงที่จะให้ได้ผลดีเป็นที่พอใจก็จำเป็นต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาการประเภทของการเลี้ยง และขั้นตอนต่อไปนี้
1. บ่อดิน
บ่อที่เลี้ยงปลานิลควรเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อสะดวกในการจับ เนื้อที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป อาหารที่ให้ใช้เศษอาหารจากโรงครัว ปุ๋ยคอก อาหารสมทบอื่นๆที่หาได้ง่าย เช่น แหนเป็ด สาหร่าย เศษพืชผักต่างๆ ปริมาณปลาที่ผลิตได้ก็เพียงพอสำหรับบริโภคในครอบครัว ส่วนการเลี้ยงปลานิลเพื่อการค้าควรใช้บ่อขนาดใหญ่ตั้งแต่ 0.5 – 3.0 ไร่ ควรจะมีหลายบ่อเพื่อทยอยจับปลาเป็นรายวันรายสัปดาห์และรายเดือน ให้ได้เงินสดมาใช้จ่ายเป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับค่าอาหารปลา เงินเดือนคนงานและค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ปัจจุบันการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินแบ่งได้ 4 ประเภท ตามลักษณะของการเลี้ยง ดังนี้
1. การเลี้ยงปลานิลแบบเดี่ยว โดยปล่อยลูกปลาขนาดเท่ากันลงเลี้ยงพร้อมกันใช้เวลาเลี้ยง 6 – 12 เดือน แล้ววิดจับหมดทั้งบ่อ
2. การเลี้ยงปลานิลหลายรุ่นในบ่อเดียวกัน โดยใช้อวนจับปลาใหญ่ คัดเฉพาะขนาดปลาที่ตลาดต้องการจำหน่ายและปล่อยให้ปลาขนาดเล็กเจริญเติบโตต่อไป
3.การเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาชนิดอื่น เช่น ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาจีน ฯลฯ เพื่อใช้ประโยชน์จากอาหาร หรือเลี้ยงร่วมกับปลากินเนื้อเพื่อกำจัดลูกปลาที่ไม่ต้องการ ขณะเดียวกันจะได้ปลากินเนื้อเป็นผลพลอยได้ เช่น การเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลากราย และการเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาช่อน เป็นต้น
4.การเลี้ยงปลานิลแบบแยกเพศโดยวิธีแยกเพศปลา หรือเปลี่ยนเป็นเพศเดียวกันเพื่อป้องกันการแพร่พันธุ์ในบ่อส่วนมากนิยมเลี้ยงเฉพาะปลาเพศผู้ซึ่งมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าเพศเมียโดยสามารถจัดเตรียมลูกปลาเพศผู้ได้ 4 วิธีดังนี้
วิธีที่ 1 การคัดเลือกโดยดูลักษณะเพศภายนอกนำปลาที่เลี้ยงทั้งหมดมาแยกเพศโดยตรงซึ่งจำเป็นต้องเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่พอสมควร โดยดูจากลักษณะสีใต้คางของปลา สำหรับปลาเพศผู้จะมีสีแดงหรือสีชมพู ส่วนปลาเพศเมียใต้คางจะมีสีเหลือง หรือจะสังเกตบริเวณช่องขับถ่ายเพศเมียจะมี 3 ช่อง เพศผู้มี 2 ช่อง ขนาดปลาที่สามารถเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนควรมีขนาดความยาวตั้งแต่ 12 ซม. และมีน้ำหนัก 50 กรัม ขึ้นไป
วิธีที่ 2 การผสมข้ามสายพันธุ์ การผสมข้ามพันธุ์ทั้งสกุลและชนิด ในปลาบางชนิดทำให้เกิดลูกปลาเพศเดียวกันได้ เช่น การผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง O.niloticus กับ O.aureus จะได้ลูกพันธุ์ปลานิลผู้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้วในประเทศอิสราเอล
วิธีที่ 3 การใช้ฮอร์โมนแปลงเพศปลา สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การฝังแคปซูล การแช่ปลาในสายละลายฮอร์โมนและการผสมฮอร์โมนในอาหารให้ลูกปลากิน โดยใช้ฮอร์โมนแอนโดรเจนหรือฮอร์โมนเพศผู้สามารถเปลี่ยนเพศได้มากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์
วิธีที่ 4ปลานิลซุเปอร์เมล เป็นการผลิตลูกปลานิลเพศผู้ทั้งครอก ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำได้ดำเนินการขยายพันธุ์พร้อมจำหน่ายให้แก่เกษตรกรหลายแห่ง อาทิ ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก สุราษฏร์ธานีและขอนแก่น
การขุดบ่อเลี้ยงปลาในปัจจุบันนิยมใช้เครื่องจักรกล เช่น รถแทรกเตอร์ รถตักขุดดิน เพราะเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าใช้แรงงานจากคนขุดเป็นอันมากนอกจากนี้ยังปฏิบัติงานได้รวดเร็วตลอดจนสร้างคันดิน ก็สามารถอัดให้แน่นป้องกันการรั่วซึมได้เป็นอย่างดี ความลึกของบ่อประมาณ 1 เมตร มีเชิงลาดประมาณ 45 องศา เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน แลมีชานบ่อกว้างประมาณ 1– 2 เมตร ตามขนาดความกว้าวยาวของบ่อที่เหมาะสม ถ้าบ่ออยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น คู คลอง แม่น้ำ หรือในเขตชลประทาน ควรสร้างท่อระบายน้ำทิ้งที่พื้นบ่ออีกครั้งหนึ่ง โดยจัดระบบน้ำเข้าออกคนละทาง เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำ แต่ถ้าบ่อนั้นไม่สามารถจะทำท่อชักน้ำและระบายน้ำได้จำเป็นต้องใช้เครื่องสูบน้ำ

ขั้นตอนการเลี้ยงปลานิลในบ่อ
1. กำจัดวัชพืชและพรรณไม้ต่างๆ เช่น กก หญ้า ผักตบชวา ให้หมดโดยนำมากอองสุมไว้ เมื่อแห้งแล้วนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมักในขณะที่ปล่อยปลาลงเลี้ยงถ้าในบ่อเก่ามีเลนมากจำเป็นต้องสาดเลนขึ้นโดยนำไปเสริมคันดินที่ชำรุด หรือ ใช้เป็นปุ๋ยแก่พืชผัก ผลไม้ บริเวณใกล้เคียง พร้อมทั้งตกแต่งเชิงลาดและคันดินให้แน่นด้วย
กำจัดศัตรู ศัตรูของปลานิล ได้แก่ ปลาจำพวกกินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาหมอ ปลาดุก นอกจากนี้ก็มีสัตว์พวก กบ งู เขียด เป็นต้น ดังนั้นก่อนที่จะปล่อยปลานิลลงเลี้ยงจึงจำเป็นต้องกำจัดศัตรูดังกล่าวเสียก่อน โดยวิธีระบายน้ำออกให้เหลือน้อยที่สุด
การกำจัดศัตรู ของปลาอาจใช้โล่ติ๊นสดหรือแห้งประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อปริมาณน้ำในบ่อ 100 ลูกบาศก์เมตร โดยทุบหรือบดโล่ติ๊นให้ละเอียดนำลงแช่น้ำประมาณ 1 – 2 ปี๊บ ขยำโล่ติ๊นเพื่อให้น้ำสีขาวออกมาหลายๆครั้งจนหมด นำไปสาดให้ทั่วบ่อ ศัตรูพวกปลาจะลอยหัวขึ้นมาภายหลังสาดโล่ติ๊น ประมาณ 30 นาที ใช้สวิงจับขึ้นมาบริโภคได้ปลาที่เหลือตายพื้นบ่อจะลอยในวันรุ่งขึ้น ส่วนศัตรูจำพวก กบ เขียด งู จะหนีออกจากบ่อไป และก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงควรทิ้งระยะไว้ประมาณ 7 วัน เพื่อให้ฤทธิ์ของโล่ติ๊นสลายตัวไปหมดเสียก่อน
2. การใส่ปุ๋ย โดยปรกติแล้วอุปนิสัย ในการกินอาหารของปลานิล จะกินอาหารจำพวกแฟรงก์ตอนพืชและสัตว์เศษวัสดุเน่าเปื่อยตามพื้นบ่อ แหน สาหร่าย ฯลฯ ดังนั้น ในบ่อเลี้ยงปลาควรให้อาหารธรรมชาติดังกล่าวเกิดขึ้นเสมอจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยลงไปละลายเป็นธาตุอาหารซึ่งพืชน้ำขนาดเล็กจำเป็นต้องใช้ในการปรุงอาหารและเจริญเติบโตโดยกระบวนการสังเคราะห์แสงซึ่งเป็นโซ่อาหาร อันดับต่อไปคือ แฟรงก์ตอนสัตว์ ได้แก่ ไรน้ำ และตัวอ่อนของแมลง ปุ๋ยที่ใช้ได้แก่ มูลวัว ควาย หมู เป็ด ไก่ นอกจากปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์แล้วก็อาจใช้ปุ๋ยหมักและฟางข้าวปุ๋ยพืชสดต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน
อัตราส่วนการใส่ปุ๋ยคอก ในระยะแรกควรใส่ประมาณ 250 – 300 กก./ ไร่ / เดือน ส่วนในระยะหลังควรลดลงเพียงครึ่งหนึ่ง หรือสังเกตสีของน้ำในบ่อ และในกรณีที่หาปุ๋ยคอกไม่ได้ก็หาปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร 15 :15 : 15 ใส่ประมาณ 5 กก. / ไร่ / เดือน ก็ได้ วิธีใส่ปุ๋ยถ้าเป็นปุ๋ยคอกควรตากให้แห้งเสียก่อน เพราะปุ๋ยสดจะทำให้มีแก๊สจำพวกแอมโมเนียละลายอยู่ในน้ำมาก เป็นอันตรายต่อปลา การใส่ปุ๋ยคอกใช้วิธีหว่านลงไปในบ่อโดยละลายน้ำทั่วๆก่อนส่วนปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยสดนั้นควรกองสุมไว้ตามมุมบ่อ 2 –3 แห่ง โดยมีไม้ปักล้อมเป็นคอกรอบกองปุ๋ยเพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนที่ยังไม่สลายตัวกระจัดกระจาย
3. อัตราปล่อยปลา อัตราการปล่อยปลาที่เลี้ยงในบ่อดินขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำ อาหาร และการจัดการเป็นสำคัญ โดยทั่วไปจะปล่อยลูกปลาขนาด 3 – 5 เซนติเมตร ลงเลี้ยงในอัตรา 1 – 3 ตัว / ตารางเมตร หรือ 2,000 – 5,000 ตัว / ไร่
4. การให้อาหาร การใส่ปุ๋ยเป็นการให้อาหารแก่ปลานิลที่สำคัญมากวิธีหนึ่ง เพราะจะได้อาหารธรรมชาติที่มีโปรตีนสูงและราคาถูกแต่เพื่อเป็นการเร่งให้ปลานิลที่เลี้ยงเจริญเติบโตเร็วขึ้นหรือถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงควรให้อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทเป็นอาหารสมทบด้วย เช่น รำ ปลายข้าว มีโปรตีนประมาณ 20 % เศษอาหารที่เหลือจากโรงครัวหรือภัตตาคาร อาหารประเภทพืชผัก เช่น แหนเป็ด สาหร่าย ผักตบชวาสับให้ละเอียด เป็นต้น อาหารสมทบเหล่านี้ควรเลือกชนิดที่มีราคมถูกและหาได้ง่าย ส่วนปริมาณที่ให้ก็ไม่ควรเกิน 4 % ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง หรือจะใช้วิธีสังเกตจากปลาที่ขึ้นมากินอาหารจากจุดที่ให้เป็นประจำ คือ ถ้ายังมีปลานิลออกมาออกันมากเพื่อรอกินอาหารก็เพิ่มจำนวนอาหารมากขึ้นตามลำดุบทุก 1 – 2 สัปดาห์
ในการให้อาหารสมทบมีข้อพึงระวังคือ ถ้าปลากินไม่หมดอาหารจมพื้นบ่อหรือละลายน้ำ
มากก็จะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นหลายประการ เช่น เสียค่าใช้จ่ายไปโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้น้ำเน่าเสียเป็นอันตรายต่อปลาที่เลี้ยง และ/หรือต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการสูบถ่ายเปลี่ยนน้ำบ่อยๆเป็นต้น

การเลี้ยงปลานิลเพศผู้ในบ่อดินแบบกึ่งพัฒนา
1. เตรียมบ่อโดยสูบน้ำเข้าบ่อให้ได้ระดับน้ำสูงประมาณ 1 เมตรใส่ปูนขาว 200 กก./ไร่ และปุ๋ยคอก 200 กก./ ไร่ ทิ้งไว้เป็นเวลาประมาณ 7 วัน เพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติในบ่อซึ่งเป็นอาหารปลา
2. ปล่อยลูกปลา ขนาด 2 – 3 เซนติเมตร จำนวน 5,000 ตัว / ไร่ ในระหว่างการเลี้ยงมีการเติมปุ๋ยคอก 200 กก./ ไร่ / เดือน เพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติในบ่อ ให้อาหารเสริม เช่น ปลาป่น รำข้าว กากถั่วเหลือง เป็นต้น ควรมีการเติมน้ำในบ่อปลาด้วยอย่างสม่ำเสมอ
3. เมื่อเลี้ยงครบ 5 เดือน จะได้ปลาขนาด 300 กรัม เริ่มให้ปลากินอาหารเม็ดระดับโปรตีน 25 % ปริมาณ 3% ของน้ำหนักตัวเป็นเวลา 1 เดือน
4. ได้ปลานิลขนาด 2 – 3 ตัว / กิโลกรัม ผลผลิต 1.5 – 2 ตัน / ไร่ (ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง)

การเลี้ยงปลานิลเพศผู้ในบ่อดินแบบพัฒนา
1. เตรียมบ่อโดยสูบน้ำเข้าบ่อให้ได้ระดับความสูงประมาณ 1 เมตร ใส่ปูนขาว 200 กก./ไร่ ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน
2. นำลูกปลานิลขนาด 45 กรัม มาปล่อยในบ่อที่เตรียมน้ำไว้ในอัตรา 8,000 ตัว / ไร่
3. ให้อาหารเม็ดระดับโปรตีน 25 % วันละ 3 ครั้ง ปริมาณ 5 % ของน้ำหนักตัว และมีการตรวจสอบอัตรารอดและปรับปริมาณอาหารทุกเดือน เลี้ยงเป็นเวลา 4 เดือนในระหว่างการเลี้ยงมีการเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มอากาศตลอดเวลา
4. จะได้ปลานิลขนาด 1– 2 ตัว / กิโลกรัม ผลผลิต 3 ตัน / ไร่ (ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง)

การเลี้ยงปลาร่วมกับสัตว์บก
วัตถุประสงค์เพื่อใช้ข้อมูลสัตว์และปุ๋ยในบ่อเป็นอาหารซึ่งจะเป็นการใช้ประโยชน์แบบผสมผสาน ระหว่างการเลี้ยงปลากับการเลี้ยงสัตว์อื่นๆ โดยเศษอาหารที่เหลือจากการย่อย หรือตกหล่นจากที่ให้อาหารของปลาโดยตรง ในขณะที่ข้อมูลของสัตว์จะเป็นปุ๋ยและให้แร่ธาตุสารอาหารแก่พืชน้ำซึ่งเป็นอาหารของปลา ซึ่งจะลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและแก้ปัญหามลภาวะได้
วิธีการเลี้ยงสัตว์ร่วมกับปลาอาจใช้วิธีการสร้างคอกสัตว์บนบ่อปลาเพื่อไม่ให้มูลไหลลงบ่อปลาโดยตรง หรือสร้างคอกสัตว์ไว้บนคันบ่อปลาแล้วนำมูลสัตว์มาใส่ลงบ่อในอัตราที่เหมาะสม ในประเทศไทยนิยมเลี้ยงสุกร จำนวน 10 ตัว หรือ เป็ด ไก่ไข่ จำนวน 200 ตัว ต่อบ่อปลาพื้นที่น้ำ 1 ไร่
1. กระชังหรือคอก
การเลี้ยงปลานิล โดยใช้แหล่งน้ำธรรมชาติทั้งบริเวณน้ำกร่อยและน้ำจืดที่มีคุณภาพน้ำดี สำหรับกระชังส่วนใหญ่ที่ใช้กันโดยทั่วไปจะมีขนาดกว้าง 20 เมตร ยาว 25 เมตร ลึก 5 เมตร สามารถจะนำมาใช้ติดตั้ง 2 รูปแบบคือ
1.1 กระชังหรือคอกแบบผูกติดกับที่ สร้างโดยใช้ไม้ไผ่ทั้งลำปักลงในแหล่งน้ำ ควรมีไม้ไผ่ผูกเป็นแนวนอนหรือเสมอผิวน้ำที่ระดับประมาณ 1 – 2 เมตร เพื่อยึดลำไม้ไผ่ที่ปักลงในดินให้แน่น กระชังตอนบนและล่างควรร้อยเชือกคร่าวเพื่อใช้ยืดตัวกระชังให้ขึงตึงโดยเฉพาะตรงมุม 4 มุม ของกระชังทั้งด้านล่างและด้านบนการวางกระชังควรวางให้เป็นกลุ่มโดยเว้นระยะห่างกันให้น้ำไหลผ่านได้สะดวก อวนที่ใช้ทำกระชัง เป็นอวนไนลอนช่องตาแตกต่างกันตาม ขนาดของปลานิลที่เลี้ยง คือขนาดช่องตา 1/4 นิ้ว ขนาด1/2 นิ้ว และอวนตาที่ถี่สำหรับเพาะและเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อน
1.2 กระชังแบบลอย ลักษณะของกระชังก็เหมือนกับกระชังโดยทั่วไปแต่ไม่ใช้เสาปักยึดอยู่กับที่ ส่วนบนของกระชังผูกติดทุ่นลอยซึ่งใช้ไม้ไผ่หรือแท่งโฟมมุมทั้ง4ด้านล่างใช้แท่งปูนซีเมนต์หรือก้อนหินผูกกับเชือกคร่าวถ่วงให้กระชังจมถ้าเลี้ยงปลาหลาย กระชังก็ใช้เชือกผูกโยงติดกันไว้เป็นกลุ่ม
อัตราส่วนของปลาที่เลี้ยงในกระชัง ปลานิลที่เลี้ยงในกระชังในแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำดี สามารถปล่อยปลาได้หนาแน่นคือ 40 – 100 ตัว / ตรม. โดยให้อาหารสมทบที่เหมาะสม เช่น ปลายข้าว หรือ มันสำปะหลัง รำข้าว ปลาป่น และพืชผักต่างๆโดยมีอัตราส่วนของโปรตีนประมาณ 20 %
สำหรับวิธีทำอาหารผสมดังกล่าว คือ ต้มเฉพาะปลายข้าว หรือมันสำปะหลังให้สุก แล้วนำมาคลุกเคล้ากับรำปลาป่นและพืชผักต่างๆ แล้วปั้นเป็นก้อนเพื่อมิให้ละลายน้ำได้ง่ายก่อนที่ปลาจะกิน

การเลี้ยงปลานิลในน้ำกร่อย
ในปัจจุบันพื้นที่และสภาพแหล่งน้ำจืดที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงปลามีปริมาณลดน้อยลง การใช้แหล่งน้ำกร่อยและทะเล เพื่อการเพาะเลี้ยงกำลังเป็นที่น่าสนใจ ปลาในสกุลปลานิลหลายชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในน้ำกร่อย ซึ่งการคัดเลือกปลานิลชนิดใดเพื่อเลี้ยงในน้ำความเค็มต่างๆ จะต้องพิจารณาให้เหมาะสม
ข้อดีของการเลี้ยงปลานิลในน้ำกร่อยคือจะมีปัญหาเรื่องกลิ่นน้อยและมีปริมาณแบคทีเรียน้อยกว่าการเลี้ยงในน้ำจืด แต่สำหรับปัญหาใหญ่ของการเลี้ยงปลาในน้ำที่มีระดับความเค็มสูง คือโรคปลา ความเครียดและการทำร้ายร่างกายกันเอง
ชนิด
ความเค็มที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

O.mossambicus
O.niloticus
O.aureus
O.spilurus
Red tilapia


17.5 ppt
5-10 ppt
10-15 ppt
25-30 ppt
25-30 ppt

การเลี้ยงปลานิลชนิดต่างๆต้องพิจารณา ถึงความเหมาะสมของแต่ละชนิดให้สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่จะเลี้ยง เช่น O.niloticus และ O.aureus เจริญเติบโตและเหมาะสมที่จะเลี้ยงในน้ำจืดและในน้ำกร่อยปลานิลแดงซึ่งเป็นลูกผสมของปลาหมอเทศ O.mossambicus กับปลานิล O.niloticus และO.spilurusเจริญเติบโตได้ดีในน้ำที่มีระดับความเค็มสูงส่วนในประเทศไทยเลี้ยงปลานิล O.niloticus โดยปล่อยเลี้ยงในอัตรา 5 ตัว/ตรม. ได้ผลผลิต 11,000 กก./10,000 ตรม. ในระยะเวลาเลี้ยง 5 เดือน ปลาจะเจริญเติบโตเฉลี่ยวันละ 2.2 กรัม แต่ทั้งนี้ระดับความเค็มต้องต่ำกว่า 30 ppt
สรุปได้ว่าการจะพิจารณาเลี้ยงปลานิลในรูปแบบใดตั้งแต่ระบบพื้นฐานคือ ไม่พัฒนา ไปจนถึงระบบการเลี้ยงพัฒนาขั้นสูงย่อมขึ้นอยู่กับระบบชีววิทยา ระบบสังคมเศรษฐกิจ ปัจจัยของสภาพแวดล้อมและระบบตลาดจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด

การเจริญเติบโตและผลผลิต
ปลานิลเป็นปลาที่มีการเจริญเติบโตเร็ว เมื่อได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องจะมีขนาดเฉลี่ย 500 กรัม ในเวลา 1 ปี ผลผลิตไม่น้อยกว่า 500 กก./ไร่/ปี ในกรณีเลี้ยงในกระชังที่คุณภาพน้ำดี มีอาหารสมทบอย่างสมบูรณ์สามารถให้ผลผลิตไม่น้อยกว่า 5 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร

การเจริญเติบโตของปลานิล
อายุปลา(เดือน) ความยาว(ซม.) น้ำหนัก(กรัม)
3 10 30
6 20 200
9 25 350
12 30 500


การจับจำหน่ายและการตลาด
ระยะเวลาการจับจำหน่ายไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับขนาดของปลานิลและความต้องการของตลาด โดยทั่วไปปลานิลที่ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อรุ่นเดียวกันก็จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงจะจับจำหน่าย เพราะปลานิลที่ได้จะมีน้ำหนักประมาณ 2-3 ตัวต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นขนาดที่ตลาดต้องการ ส่วนปลานิลที่ปล่อยลงเลี้ยงหลายรุ่นในบ่อเดียวระยะเวลาการจับจำหน่ายก็ขึ้นอยู่กับราคาปลาและความต้องการของผู้ซื้อ การจับปลานิลทำได้ 2 วิธี ดังนี้

1. จับปลาแบบไม่วิดบ่อแห้ง จะใช้อวนตาห่างจับปลาเพราะจะได้ปลาที่มีขนาดใหญ่ตามที่ต้องการ การตีอวนจับปลากระทำโดยผู้จับยืนเรียงแถวหน้ากระดาน และเว้นระยะห่างกัน ประมาณ4.50 เมตร ซึ่งอยู่ทางด้านหนึ่งของบ่อแล้วลากอวนไปยังอีกด้านหนึ่งของบ่อตามความยาวแล้วยกอวนขึ้น หลังจากนั้นก็นำสวิงตักปลาใส่เข่งเพื่อชั่งขาย ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนได้ปริมาณตามที่ต้องการ ส่วนปลาเล็กก็คงปล่อยเลี้ยงในบ่อต่อไป
การลากอวนแต่ละครั้งจะมีปลาเบญจพรรณเป็นผลพลอยได้เสมอ เช่น ปลาดุก ปลาหลด ปลาตะเพียน ปลาช่อน เป็นต้น
การคัดขนาดของปลากระทำได้ 2วิธีคือ ถ้านำไปจำหน่ายที่องค์การสะพานปลา องค์การสะพานปลาก็จะจัดการคัดขนาดให้แต้ถ้าเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาจำหน่ายที่ปากบ่อก็จำเป็นต้องทำการคัดขนาดปลากันเอง
2. จับปลาแบบวิดบ่อแห้ง ก่อนทำการจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อย แล้วตีอวนจับปลาเช่นเดียวกับวิธีแรกจนกระทั่งปลาเหลือจำนวนน้อย จึงสูบน้ำออกจากบ่ออีกครั้งหนึ่งและขณะเดียวกันก็ตีน้ำไล่ปลาให้ไปรวมกันอยู่ในร่องบ่อ ร่องบ่อนี้จะเป็นส่วนที่ลึกอยู่ด้านหนึ่งของบ่อเมื่อน้ำในบ่อแห้ง ปลาจะมารวมกันอยู่ที่ร่องบ่อ และเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาก็จับขึ้นจำหน่ายต่อไป การจับปลาลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะทำทุกปีในฤดูแล้งเพื่อตากบ่อให้แห้งและเริ่มต้นเลี้ยงปลาในฤดูการผลิตต่อไป
ตลาดของปลานิลส่วนใหญ่ยังใช้บริโภคภายในประเทศอย่างไรก็ตามมีโรงงานห้องเย็นเริ่มรับซื้อปลานิล ปลานิลแดง เพื่อแปรรูปส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา อิตาลี ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย เป็นต้น โดยโรงงานจะรับซื้อปลาขนาด 400 กรัมขึ้นไป เพื่อแช่แข็งส่งออกทั้งตัวและรับซื้อปลาขนาด 100-400 กรัม เพื่อแล่เฉพาะเนื้อแช่แข็ง หรือนำไปแปรรูปเพื่อส่งออกต่อไป

ต้นทุนและผลตอบแทน
ตาราง แสดงต้นทุนการผลิตปลานิลเฉลี่ยต่อไร่ต่อรุ่น
หมายเหตุ : ตัวเลขประเมิน (ปี 2538)
ที่มา : กลุ่มวิจัยสินค้าเกษตรกรรมที่ 2 สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร


วิถีการตลาดปลานิล

ลักษณะและการจำหน่ายผลผลิตปลานิล
เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล จะมีการจำหน่ายผลผลิตในหลายลักษณะ ได้แก่ ขายปลีกแก่พ่อค้าต่างๆ ที่เข้ามารับซื้อจากฟาร์มซึ่งมีทั้งพ่อค้าขายปลีกในตลาดหรือพ่อค้ารวบรวมในพื้นที่และจากต่างท้องถิ่นหรือส่งให้องค์การสะพานปลาขายส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรจะขายแก่พ่อค้าผู้รวบรวม 66-71% และนำไปขายแก่พ่อค้าขายส่งที่องค์การสะพานปลา 21% และขายในรูปลักษณะอื่นๆ 3-6 %

ราคาและความเคลื่อนไหว
ราคาและผลผลิตปลานิลแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกัน ตลาดในชนบทมีความต้องการปลาขนาดเล็กเพื่อการบริโภค ซึ่งตรงกันข้ามกับตลาดในเมืองมีความต้องการปลาขนาดใหญ่ ราคาของปลาจึงแตกต่างกัน
ความเคลื่อนไหวของราคาที่เกษตรกรขายได้และราคาขายส่งเป็นไป ในลักษณะทิศทางเดียวกันและขึ้นอยู่กับฤดูกาล ในการขายปลาโดยปกติราคาขายจะสูงในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกันยายน สำหรับราคาจำหน่ายที่ฟาร์มอยู่ที่ขนาดของปลาอยู่ระหว่าง 12-15 บาท/กก. สำหรับราคาขายปลีกโดยเฉลี่ยราคาอยู่ที่ 20-25 บาท/กก. ผลต่างระหว่างราคาฟาร์มและราคาขายปลีกเท่ากับ 8-10 บาท/กก.
ด้านราคาส่งออกนั้นขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของตลาดโลกเป็นสำคัญ เมื่อประเทศคู่แข่ง เช่น ไต้หวัน อินโดนีเซีย สามารถผลิตได้มากก็จะทำให้ประเทศไทยส่งขายได้น้อย เพราะเนื่องจากผลผลิตปลานิลแช่แข็งทั้งในรูปปลาทั้งตัวและปลาทั้งตัวควักไส้มีราคาสู้กับประเทศคู่แข่งไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ราคาปลานิลแล่เฉพาะเนื้อมีราคาอยู่ระหว่าง 75-80 บาท/กก. และสำหรับปลานิลแช่แข็งทั้งตัวอยู่ระหว่าง 30-35 บาท/กก.

ปัญหาการตลาดปลานิลของเกษตรกร
ตลาดปลานิลพ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคาและปริมาณการซื้อ โดยที่พ่อค้าคนกลางจะเข้าไปรับซื้อถึงฟาร์ม เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถนำผลผลิตออกมาขายที่ตลาด เนื่องจากขาดอุปกรณ์ในการจับและลำเลียง อีกทั้งยังไม่มีความรู้ในด้านการตลาด ปัญหาที่สำคัญซึ่งเป็นตัวกำหนดราคาที่เกษตรกรพบอยู่เสมอ คือ
1.ขนาดพันธุ์ปลา ปลานิลเป็นปลาที่แพร่พันธุ์ได้สามารถออกลูกตลอดทั้งปีเป็นปลานิลเพศเมียส่วนใหญ่และลูกปลาจึงมีขนาดเล็กและไม่ได้น้ำหนักตามที่ผู้ซื้อต้องการ
2. กลิ่นโคลนของเนื้อปลา เนื่องจากปลานิลที่เลี้ยงยังใช้เศษอาหาร วัสดุที่เหลือจากการ
บริโภค หรือเลี้ยงปลาผสมผสาน ทำให้ปลาแล่เนื้อมีกลิ่นโคลน
3. ปลาที่เกษตรกรจับ ส่วนมากวิดบ่อและปลาตายจำนวนมาก การจับส่งลำเลียงไม่ถูกวิธี เมื่อนำไปบรรจุจะมีแบคทีเรียสูง ทำให้เนื้อปลามีสีเขียว
4. เกษตรกรขาดแคลนเงินทุน ทำให้เมื่อปลามีขนาดโตพอจำหน่ายได้ เกษตรกรจะรีบขายทันที ทำให้ราคาต่ำ

การกำจัดกลิ่นสาบ
กลิ่นที่พบมากในปลาเลี้ยง โดยเฉพาะปลาที่เลี้ยงในบ่อดิน และเป็นปัญหามากต่อการส่งออก ได้แก่ กลิ่นสาบหรือกลิ่นโคลนแต่เดิมเข้าใจกันว่าอาหารที่ขึ้นราอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลามีกลิ่นดังกล่าวแต่ปัจจุบันเป็นที่ทราบค่อนข้างแน่นอนแล้วว่ากลิ่นโคลนในตัวปลาเกิดขึ้นเนื่องจาก ปลาดูดซับสารละลายชนิดหนึ่งในน้ำ เรียกว่า จีออสมิน (Geosmin) เข้าไปทางเหงือก หรือกินตัวการที่ผลิตสารนี้เข้าไปโดยตรงแล้วสะสมสารนี้ในเนื้อเยื่อที่สะสมไขมันสันนิษฐานกันว่าตัวการที่ผลิตสารนี้ได้แก่ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวบางชนิด เชื้อราและจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นในบ่อเลี้ยง ตัวการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างหนาแน่นในบ่อที่มีการให้อาหารมากดังนั้นหากจะกล่าวว่าอาหารเป็นต้นเหตุของกลิ่นโคลนก็เป็นได้ เพราะปริมาณอาหารที่ใช้เลี้ยงไม่ใช่คุณภาพของอาหารโดยตรงที่เป็นต้นเหตุ
กลิ่นโคลนไม่ใช่เป็นกลิ่นถาวรที่อยู่กับตัวปลาตลอดไปกลิ่นนี้จะหายไปเมื่อนำปลาไปใส่ไว้ในน้ำสะอาดและงดให้อาหารเป็นเวลา 7 วัน ที่อุณหภูมิน้ำ 24 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้จะทำให้กลิ่นโคลนหมดไปจากตัวปลาเร็วขึ้น การแช่ปลาในน้ำสะอาดเป็นเวลา 7 วัน จะทำให้ปลาสูญเสียน้ำหนักไปประมาณ 5-12 เปอร์เซ็นต์
ปลานิลไม่ต้องการกรดไขมัน w-6 ซึ่งมีมากในน้ำมันปลาจึงไม่ควรใส่น้ำมันปลาในอาหารปลานิล เพราะนอกจากไม่มีประโยชน์ในด้านให้กรดไขมันที่จำเป็นแล้วยังอาจทำให้ปลามีกลิ่นคาวรุนแรงแม้ว่าจะเก็บปลาไว้เป็นปีๆ ก็ตาม
ปลานิลที่ขุนไว้จนอ้วนจะมีเนื้อยุ่ยเหลวเมื่อทำเป็นเนื้อแล่เนื่องจากไขมันอาหารไปสะสมตามเนื้อมากเกินไป ตามปกติปลาเลี้ยงจะมีไขมันมากกว่าปลาธรรมชาติอยู่แล้วเพราะปลาเลี้ยงได้รับอาหารเต็มที่เพื่อเร่งให้เจริญเติบโตเร็ว อาหารที่มีไขมันหรือสัดส่วนของพลังงานต่อโปรตีนสูง จึงทำให้คุณภาพของเนื้อปลาต่ำลง ในทางตรงกันข้ามหากเนื้อปลามีไขมันน้อยเกินไปซึ่งมีสาเหตุมาจากปลาได้รับอาหารไม่เพียงพอเนื้อปลาจะแห้งและแข็งเกินไปไม่ชวนรับประทาน

ตลาดภายในประเทศ
ปัจจุบันผู้บิโภคภายในประเทศ เริ่มสนใจที่จะบริโภคปลานิลเพิ่มสูงขึ้น และกรมประมงมีโครงการส่งเสริมให้มีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิล ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ผู้บริโภคภายในประเทศไทยรู้ถึงคุณค่าของอาหารโปรตีนจากปลานิลมากขึ้น โอกาสที่การจำหน่ายภายในประเทศจึงน่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นตามไปด้วย
ผลผลิตปลานิลส่วนใหญ่จะบริโภคภายในประเทศ เป็นรูปสด 89% ในการแปรรูปทำเค็ม ตากแห้ง 5% ย่าง 3% และที่เหลือในรูปอื่นๆ
สำหรับปลานิลทั้งตัว และในรูปแช่แข็งก็มีจำหน่ายในประเทศโดยผู้ผลิตคือโรงงานและจำหน่ายให้ภัตตาคารหรือร้านอาหาร

ตลาดต่างประเทศ
เนื่องจากภาวการณ์ติดต่อและการคมนาคมในปัจจุบันทำให้สะดวก นอกจากนี้ผลต่างของราคาจำหน่ายปลานิลของต่างประเทศยังมีความต้องการปลานิลเพื่อบริโภคสูง
ตลาดต่างประเทศมีทั้งตลาดในยุโรปตะวันออกกลางสหรัฐอเมริกาออสเตรเลียและเอเชีย โดยปลานิลแช่แข็งที่ส่งออกมีปริมาณไม่มากนัก ในปี2533ประเทศไทยส่งออกปลานิลทั้งในรูปปลานิลแช่แข็งและในรูปแล่เนื้อประมาณ111,174.64กก.เพิ่มขึ้น 179,231.72 กก. ในปี 2534 หรือคิดเป็นร้อยละ 61.22
ประเทศคู่แข่งปลานิลแช่แข็งที่สำคัญคือ ไต้หวัน บังกลาเทศ ประเทศเหล่านี้สามารถผลิตปลาที่ได้ขนาด เมื่อนำมาแล่เนื้อจะมีขนาด 40-60 กรัมและ60-80 กรัมต่อชิ้น นั้นคือ ขนาดปลาต้องมีน้ำหนัก 400 กรัม/ตัวขึ้นไปซึ่งการผลิตปลานิลให้มีลักษณะตามต้องการของตลาดต่างประเทศ จึงต้องพิจารณาถึงต้นทุนและกรรมวิธีในการผลิตอย่างรอบคอบ

แนวโน้มการเลี้ยงปลานิลในอนาคต
ปลานิลเป็นปลาที่ตลาดผู้บริโภคยังมีความต้องการสูงขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากจำนวนประชากรมีอัตราการเจริญเติบโตสูงจึงส่งผลต่อแนวโน้มการเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้มีลู่ทางแจ่มใสต่อไปโดยไม่ต้องกังวลปัญหาด้านการตลาดเนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาดีไม่มีอุปสรรคเรื่องโรคระบาดเป็นที่นิยมบริโภคและเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในทั่วทุกภูมิภาคเพราะสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายรูปแบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันปลานิลสามารถส่งเป็นสินค้าออกไปสู่ต่างประเทศในลักษณะของปลาแล่เนื้อ ตลาดที่สำคัญๆ
อาทิ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อิตาลี เป็นต้น ดังนั้นการเลี้ยงปลานิลให้มีคุณภาพ ปราศจากกลิ่นโคลนย่อมจะส่งผลดีต่อการบริโภค การจำหน่ายและการให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุด

การอนุบาลลูกปลานิล






การอนุบาลลูกปลานิล
1. บ่อดิน บ่อดินควรมีขนาดประมาณ 200 ตรม. ถ้าเป็นบ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจะสะดวกในการจับย้าย ลูกปลา น้ำในบ่อควรมีระดับความลึกประมาณ 1 เมตร บ่ออนุบาลควรเตรียมไว้ให้มีจำนวนมากพอ เพื่อให้ เลี้ยงลูกปลาขนาดเดียวกันที่ย้ายมาจากบ่อเพาะ การเตรียมบ่ออนุบาลควรจัดการล่วงหน้าประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนที่นำลูกปลามาเลี้ยง การเตรียมบ่ออนุบาลนั้นปฏิบัติวิธีเดียวกันกับการเตรียมบ่อที่ใช้เพาะ ปลานิล บ่อขนาดดังกล่าวนี้จะใช้อนุบาลลูกปลานิลขนาด 1-2 ซม. ได้ครั้งละประมาณ 50,000 ตัว การอนุบาลลูกปลานิล นอกจากใช้ปุ๋ยเพาะอาหารธรรมชาติแล้วจำเป็นต้องใช้อาหารสมทบ เช่น รำละเอียด กากถั่ว อีกวันละ 2 ครั้ง พร้อมทั้งสังเกตความอุดมสมบูรณ์ของอาหารธรรมชาติจากสีของ น้ำซึ่งมีสีอ่อน หรือจะใช้ถุงลากแพลงก์ตอน ตรวจดูปริมาณของไรน้ำก็ได้ ถ้ามีปริมาณน้อยก็ควร เติมปุ๋ยคอกลงเสริมในช่วงระยะเวลา 5-6 สัปดาห์ ลูกปลาจะโตมีขนาด 3-5 ซม. ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสม จะนำไปเลี้ยงเป็นปลาขนาดใหญ่
2. นาข้าวใช้เป็นบ่ออนุบาล นาข้าวที่ได้เสริมคันดินให้แน่นเพื่อเก็บกักน้ำให้มีระดับสูงประมาณ 50 ซม. โดยใช้ดินที่ขุดขึ้นโดยรอบคันนาไปเสริมซึ่งจะมีคูขนาดเล็กโดยรอบพร้อมมีบ่อขนาดเล็กประมาณ 2x5 เมตร ลึก 1 เมตร ในด้านคันนาที่ลาดเอียงต่ำสุดเป็นที่รวบรวมลูกปลาขณะจับ พื้นที่นาดังกล่าว ก็สามารถจะเป็นนาอนุบาลลูกปลานิลได้หลังจากปักดำข้าว 10 วัน หรือภายหลังที่เก็บเกี่ยว ข้าวแล้วส่วน การให้อาหาร และปุ๋ยก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับบ่ออนุบาล การป้องกันศัตรูของปลานิลในนาข้าวควร ให้อวนในล่อนตาถี่สูงประมาณ 1 เมตร ทำเป็นรั้วล้อมรอบเพื่อป้องกันศัตรูของปลาจำพวก กบ งู เป็นต้น
3. บ่อซีเมนต์ บ่ออนุบาลลูกปลานิลและบ่อเพาะปลานิลจะใช้ขนาดเดียวกันก็ได้ ซึ่งจะสามารถใช้บ่อ อนุบาลลูกปลาวัยอ่อนได้ตารางเมตรละประมาณ 300 ตัวในเวลา 4-6 สัปดาห์ โดยใช้เครื่องเป่าลมช่วย และเปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณครึ่งบ่อสัปดาห์ละครั้งให้อาหารสมทบวันละ 3 เวลา เมื่อลูกปลาที่เลี้ยงโตขึ้นมีขนาด 3-5 ซม.
4. กระชังในล่อนตาถี่ ขนาด 3 x 3 x 2 เมตร ซึ่งสามารถจะใช้อนุบาลลูกปลาวัยอ่อนได ้จำนวน ครั้งละ 3,000 - 5,000 ตัว โดยให้ไข่แดงต้มบดให้ละเอียด วันละ 3-4 ครั้ง หลังจากอุง อาหารของลูก ปลายุบตัวลงใหม่ ๆ เป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงให้รำละเอียด 3 ส่วน ผสมกับปลาป่นบด ให้ละเอียดอัตรา 1 ส่วนติดต่อกันเป็นระยะเวลาประมาณ 4-5 สัปดาห์ ลูกปลาจะโตขึ้นมีขนาด 3-5 ซม. ซึ่งสามารถนำไปเลี้ยงให้เป็นปลาขนาดใหญ่หรือจำหน่าย


การอนุบาลลูกปลานิลอาจจะใช้บ่อเพาะพันธุ์อนุบาลปลานิลเลยก็ได้ เพื่อเป็นการประหยัด โดย ซ้อนพ่อพันธุ์ออกไปเลี้ยงไว้ต่างหาก


การเลี้ยง
ปลานิลเป็นปลาที่ประชาชนนิยมเลี้ยงกันมากชนิดหนึ่ง ทั้งในรูปแบบการค้าและเลี้ยงไว้บริโภคใน ครัวเรือน ทั้งนี้เนื่องจากปลานิลเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินอาหารได้แทบทุกชนิด เนื้อมีรสชาติดีตลาดมี ความต้องการสูง ส่วนในเรื่องราคาที่จำหน่ายนั้นค่อข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับปลาชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาตะเพียนขาว ปลาสวาย ฯลฯ ดังนั้น การเลี้ยงปลาชนิดนี้เพื่อผลิตจำหน่าย จึงมีความจำเป็นที่จะต้อง พิจารณาในด้านอาหารปลาที่จะนำมาใช้เลี้ยงเป็นหลัก กล่าวคือ ต้องเป็นอาหารที่หาได้ง่าย ราคาต่ำเพื่อ ลดต้นทุนการผลิตให้มากที่สุด นอกจากนั้นการเลี้ยงปลาชนิดนี้มีความจำเป็นในด้านการจัดการฟาร์ม ที่เหมาะสม เพราะปลานิลเป็นปลาที่ออกลูกดก ถ้าเป็นในบ่อมีความหนาแน่นมากก็จะไม่เจริญเติบโต ดังนั้นการเลี้ยงที่จะให้ได้ผลดีเป็นที่พอใจ ก็จำเป็นต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตามประเภท ของการเลี้ยงและขั้นตอนต่อไปนี้
1. บ่อดิน
บ่อที่เลี้ยงปลานิลควรเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้าเพื่อสะดวกในการจับเนื้อที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตร ขึ้นไป ใช้เศษอาหารเลี้ยงจากโรงครัว ปุ๋ยคอก อาหารสมทบอื่น ๆ ที่หาได้ง่าย เช่น แหนเป็ด สาหร่าย เศษพืชผัก ต่าง ๆ ปริมาณปลาที่ผลิตได้ก็เพียงพอสำหรับบริโภคในครอบครัว
ส่วนการเลี้ยงปลานิลเพื่อการค้าควรใช้บ่อขนาดใหญ่ตั้งแต่ 0.5 - 3.0 ไร่ควรจะมีหลายบ่อเพื่อทยอย จับปลาเป็นรายวัน รายสัปดาห์และรายเดือน เพื่อให้ได้เงินสดมาใช้จ่ายเป็นเงินทุนหมุนเวียนสำหรับค่า อาหารปลา เงินเดือนคนงาน ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ปัจจุบันการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินแบ่งได้ 4 ประเภท ตามลักษณะของการเลี้ยงดังนี
1. การเลี้ยงปลานิลแบบเดี่ยว โดยปล่อยลูกปลาขนาดเท่ากันลงเลี้ยงพร้อมกันใช้เวลาเลี้ยง 6-12 เดือน แล้วจิบจับหมดทั้งบ่อ
2. การเลี้ยงปลานิลหลายรุ่นในบ่อเดียวกัน โดยใช้อวนจับปลาขนาดใหญ่เฉพาะขนาดปลาที่ ตลาดต้อง การจำหน่ายปล่อยให้ปลาขนาดเล็กเจริญ เติบโต
3. การเลี้ยงปลานิบร่วมกับปลาชนิดอื่น เช่น ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาจีน ฯลฯ เพื่อใช้ประโยชน์ จากอาหาร หรือเลี้ยงร่วมกับปลากินเนื้อเพื่อกำจัดลูกปลาที่ไม่ต้องการ ขณะเดียวกันจะได้ปลากินเนื้อเป็น ผลพลอยได้ เช่น การเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลากลาย และการเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาช่อง
4. การเลี้ยงปลานิลแบบแยกเพศโดยวิธีแยกเพศปลา หรือเปลี่ยนเพศปลาเป็นเพศเดียวกัน เพื่อป้อง กันการแพร่พันธุ์ในบ่อ ส่วนมากนิยมเลี้ยงเฉพาะปลาเพศผู้ ซึ่งมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าเพศเมีย
การขุดบ่อเลี้ยงปลาในปัจจุบันนิยมใช้เครื่องจักรกล เช่น รถแทรกเตอร์ รถตักขุดดิน เพราะเสียค่า ใช้จ่ายต่ำกว่าใช้แรงงานจากคนขุดเป็นอันมาก นอกจากนี้ยังปฏิบัติงานได้รวดเร็วตลอดจน การสร้างคันดิน ก็สามารถอัดให้แน่น ป้องกันมากรั่วซึม ของน้ำได้เป็นอย่างดี ความลึกของบ่อประมาณ 1 เมตร มีเชิงลาด ประมาณ 45 องศา เพื่อป้องกันการ พังทลายของดิน และมีชายบ่อกว้างประมาณ 1-2 เมตร ตามขนาด ความกว้างยาวของบ่อที่เหมาะสม ถ้าเป็นอยู่ในแหล่งน้ำ เช่น คู คลอง แม่น้ำหรือในเขตชลประทาน ควรสร้างท่อระบายน้ำทิ้งที่พื้นบ่ออีก ด้านหนึ่ง โดยจัดระบบน้ำเข้าออกคนละทาง เป็นการลดค่าใช้จ่าย ในการสูบน้ำ แต่ถ้าบ่อนั้นไม่สามารถ จะทำท่อชักน้ำและระบายน้ำได้จำเป็นต้องใช้เครื่องสูบน้ำ

การขุดบ่อปลา
















การเลี้ยงปลาเป็นอาชีพคู่กันกับการเกษตร เพราะปลาเป็นอาหารคู่กันกับข้าว ประเทศเพื่อนบ้านที่ทำการเพาะปลูก เช่น ประเทศในแถบอินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ต่างก็เลี้ยงปลาได้ผลดี การเลี้ยงปลานอกจากทำให้มีปลาเป็นอาหารแล้วยังจะให้ความเพลิดเพลินด้วย เมื่อเหลือกินก็จำหน่ายเป็นการเพิ่มรายได้อีกส่วนหนึ่ง หรือเลี้ยงมากๆ ก็เป็นสินค้าทำให้ร่ำรวยได้วิธีเลี้ยงปลาอาศัยหลักการดังนี้ คือ 1. เลือกที่ริมทะเล แม่น้ำ ลำคลอง ที่มีน้ำบริบูรณ์ ดินดี น้ำไม่ท่วมใกล้ทางหลวงและชุมนุมชน 2. ขุดบ่อให้กว้าง ยาว และลึกพอเลี้ยงปลาได้ตามที่ต้องการ บ่อนั้นจะเล็กใหญ่สุดแต่กำลังเงิน 3. เลือกปลาที่ควรเลี้ยงในบ่อให้เหมาะสมกับท้องที่ ปลาที่เลี้ยงควรเป็นพันธุ์ดี มีขนาดไล่เลี่ยกัน 4. พันธุ์ปลาที่ใช้เลี้ยง ได้จากการรวบรวมจากธรรมชาติ ซื้อหรือจะเพาะฟักเอาเองก็ได้ 5. มีอาหารปลาสม่ำเสมอ ด้วยการใส่ปุ๋ย และหาอาหารสมทบให้มีพอดี ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป 6. เนื้อที่บ่อ 1 ตารางเมตร ไม่ควรเลี้ยงลูกปลาเกิน 50 ตัว และปลาขนาดใหญ่ไม่เกิน 5 ตัว นอกจากจะมีอาหารสมบูรณ์ มาก ทั้งนี้แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ปลา 7. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับปลาที่เลี้ยง และวิธีเลี้ยง ด้วยการเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ 8. ป้องกันศัตรูของปลา เช่น นก นาก งู และโรคพยาธิ ถ้ามีก็ช่วยกำจัด



















ทำเลที่ควรขุดบ่อปลา ทำเลที่จะเลี้ยงปลาเป็นสิ่งสำคัญประการแรก ที่จะทำให้การเลี้ยงปลาได้ผลดีหรือล้มเหลว ดังนั้น เมื่อจะขุดบ่อเลี้ยงปลา ควรพิจารณาทำเลที่ประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ใกล้แหล่งน้ำ คือ อยู่ใกล้ทะเล แม่น้ำ ลำคลองที่มีน้ำสะอาด อาศัยน้ำได้ตลอดปี สะดวกแกการระบายหรือถ่ายเทน้ำในบ่อและควรพิจารณาว่าที่นั้นอยู่ห่างจาก โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งอาจจะระบายเศษกากวัตถุดิบลงในน้ำทำให้เกิดน้ำเสียมาถึง บ่อปลาได้ 2. ดิน ควรเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย เพราะสามารถเก็บกักน้ำได้ และเป็นดินที่มีปุ๋ย 3. ระดับพื้นที่ ควรเป็นที่ราบเรียบ ไม่เป็นโขด หรือ[คำไม่พึงประสงค์]นเกินไปจะทำให้ต้องใช้แรงงานในการขุดดิน หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายในการยกคันบ่อมากเกินควร 4. พืช เป็นเครื่องชี้บอกว่าดินดีเพียงใด และพืชบางชนิดก็ใช้เป็นอาหารของคน ของปลา และเป็นปุ๋ยในบ่อปลาได้ แต่ถ้ามีพันธุ์ไม้ใหญ่มาก ก็จะเสียค่าใช้จ่ายในการขุด โค่น ตัด ถอนมาก 5. น้ำไม่ท่วม ที่นั้นไม่ควรเป็นที่ระดับน้ำท่วมหรือไหลบ่าจนยากแก่การป้องกันไม่ให้ปลาหนี 6. ใกล้ตลาด เพื่อเพิ่มพูนรายได้ ที่นั้นควรอยู่ใกล้ตลาด ร้านค้า ชุมนุมชน ซึ่งสามารถขายปลาสดได้ทันเวลา และได้ราคาสูง 7. การขนส่ง บ่อปลาควรอยู่ใกล้ทางคมนาคมที่มียานพาหนะผ่านไปมา ขนส่งสะดวก ติดต่อได้สะดวกรวดเร็ว 8. แรงงาน ในการสร้างบ่อปลา ควรอาศัยคนที่ชำนาญงานทำเลนั้น จึงควรเป็นที่ซึ่งจะจ้างเหมาหาแรงงานได้สะดวก 9. ความปลอดภัย บริเวณนั้นควรเป็นที่สงบสุข ไม่มีโจรผู้ร้ายเบียดเบียน และไม่เป็นแหล่งโรคพยาธิที่จะรบกวนสุขภาพอนามัย



บ่อปลา เมื่อเลือกทำเลเลี้ยงปลาแล้ว การสร้างบ่อควรดำเนินตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1. วางผังบ่อในเนื้อที่ซึ่งมีอยู่ ควรกำหนดขุดสร้างเป็นขั้นๆ ตามกำลัง ถ้าเลี้ยงปลาเป็นการค้า ก็ควรกะให้ขยายได้ในกาลข้างหน้า 2. กรุยทางสำหรับยกคันบ่อตามแนวทางที่วางไว้ในแผนผัง แล้วเก็บเศษไม้กิ่งไม้ออก 3. ยกคันบ่อให้สูงกว่าระดับน้ำสูงสุดในรอบปีประมาณ 30 ซม. คันบ่อควรมีฐานเชิงลาดกว้างเท่ากับส่วนสูงของคันดิน 4. เว้นช่องและสร้างประตูระบายน้ำตรงที่ใกล้ หรือติดต่อกับแหล่งน้ำให้พื้นประตูของทางน้ำเข้าสูงกว่าทางน้ำออกซึ่งประกอบด้วยตะแกรงตาถี่ 2 ชั้น และไม้อัดตรงกลางยกขึ้นลงได้ 5. สำหรับปลาน้ำจืด บ่อจะเป็นรูปใดขนาดใดก็ได้ แต่ควรเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและการจับปลาและให้น้ำขังได้ตลอดปีไม่ต่ำกว่า 1 เมตร ถ้าเลี้ยงปลาน้ำกร่อย ควรมีบ่อขนาดใหญ่แต่ละบ่อเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 500 ตารางเมตร ลึก 50 ซม. 6. สำหรับบ่อเพาะพันธุ์ปลา ควรอยู่ใกล้บ้านผู้เลี้ยงที่สุด และมีขนาดเล็กกว่าบ่อเลี้ยง เพื่อดูแลรักษาได้ใกล้ชิดและป้องกันศัตรูได้สะดวก 7. พื้นบ่อควรเรียบเตียนสม่ำเสมอกัน แต่ลาดไปทางประตูระบายน้ำออกเพื่อสะดวกในการล้างบ่อและจับปลา 8. ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง ควรโรยปูนขาวให้ทั่วเพื่อฆ่าเชื้อโรค ตากทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน จึงปล่อยน้ำเข้า อีกประมาร 7วันต่อมาจึงถ่ายน้ำออกเพื่อรับน้ำใหม่ 9. ใส่ปุ๋ยมูลสัตว์ตากแห้งเพื่อให้เกิ[คำไม่พึงประสงค์]าหารพวกพืชและไรน้ำสำหรับปลากินเป็นอาหาร 10. บนคันดินควรปลูกต้นไม้ไว้เป็นร่มเงาแก่ปลาที่เลี้ยงบ้าง ส่วนภายในบ่อ ก็ควรปลูกผักหญ้าที่จะใช้เป็นอาหารสำหรับคนและปลาได้บ้างเล็กน้อย 11. เพื่อความสะดวกในการให้อาหารปลาและรักษาความสะอาด ควรทำกระบะไม้ที่รองอาหารไว้ใต้ระดับน้ำในบ่อ 12. ปล่อยปลาที่คัดเลือกแล้วลงในบ่อเลี้ยงในเวลาเช้าหรือเวลาเย็น ** ท่านที่อยู่ใกล้แม่น้ำลำคลอง ก็สามารถใช้ประโยชน์ด้วยการเลี้ยงปลาในกระชัง กั้นคอก หรือจะเลี้ยงปลาในร่องสวน อย่างใ[คำไม่พึงประสงค์]ย่างหนึ่งได้ตามความเหมาะสมปลาที่ควรเลี้ยง พันธุ์ปลาที่ดีและควรเลี้ยงได้แก่ ปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว หาพันธุ์ได้ง่าย มีลูกมาก อดทน เนื้อมีรสดีและมีผู้นิยมรับประทาน ปลาซึ่งมีลักษณะดังกล่าวมักเป็นปลาที่กินพืชผักเป็นอาหาร เพื่อให้เข้าใจแจ้งชัดขออธิบายดังนี้ 1. เลี้ยงง่าย ได้แก่ ปลาที่กินอาหารง่าย ไม่เลือกอาหาร เช่น กินผักหญ้า อาหารที่มีตามธรรมชาติ หรือซื้อหาได้ง่ายและราคาถูก 2. โตเร็ว ถ้าเลี้ยงปลาที่โตเร็ว เพียง 6 เดือนถึง 1 ปี ก็จะใช้เป็นอาหารหรือมีขนาดโตพอที่จะจำหน่ายได้ 3. หาพันธุ์ได้ง่าย เช่น เพาะพันธุ์ได้ในบ่อ หรือหาพันธุ์ปลาได้จากที่ใกล้เคียง เพื่อจะได้มีปลาเลี้ยงอยู่เสมอ และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อหาลูกปลามาเลี้ยงด้วยราคาแพงเกินไป 4. มีลูกมาก ปลาที่มีลูกมากจะช่วยเพิ่มจำนวนให้เลี้ยงได้มากขึ้น เป็นการเพิ่มอาหารและรายได้ให้ผู้เลี้ยงรวดเร็วขึ้น 5. อดทน ปลาที่เลี้ยงควรเป็นชนิ[คำไม่พึงประสงค์]ดทนต่อสภาพท้องที่ และลมฟ้าอากาศ แม้จะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามฤดูกาล เช่น ขาดแคลนอาหาร อากาศร้อน หนาว น้ำน้อย และถ้าเกิดโรคพยาธิก็ไม่ตายง่าย 6. เนื้อมีรสดี ปลาที่เลี้ยงเนื้อควรมีรสดี เป็นที่นิยมของผู้รับประทานโดยทั่วไป และมีราคาสูงปลาชนิดที่มีคุณลักษณะดังกล่าวและเลี้ยงได้ผลดี คือ 1. ปลาไน 2. ปลาสลิด 3. ปลาดุก 4. ปลาสวาย ปลาเทโพ 5. ปลาเฉา 6. ปลาลิ่น 7. ปลาซ่ง 8. ปลานวลจันทร์ทะเล 9. ปลาแรด 10. ปลาหมอตาล 11. ปลากระบอก 12. ปลากะพงขาว




อาหารของปลา ก่อนที่จะเลี้ยงปลา ผู้เลี้ยงควรศึกษาให้ทราบเสียก่อนว่าปลาที่เลี้ยงชอบกินอะไร และอาหารนั้นควรหาได้ง่ายและมากพอที่จะเลี้ยงปลาให้เจริญเติบโตด้วย ปลาแต่ละชนิดกินอาหารไม่เหมือนกัน กล่าวคือ 1. ปลาไน กินจุลินทรีย์ในน้ำ ไรน้ำ ลูกน้ำ แหน สาหร่าย ตะไคร่น้ำ รำ รากและใบผักบุ้ง ผักแพงพวย ลูกกุ้ง แมลง และตัวหนอน 2. ปลาสลิด กินตะไคร่น้ำ แหน ไรน้ำ รำ ตัวปลวก 3. ปลาดุก ชอบกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์มากกว่าอาหารจำพวกพืช เช่น ปลาเป็ด เศษเนื้อ เนื้อหอย เนื้อปู เลือดสัตว์ ไส้เดือน แมลง ประเภทพืชได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว กากถั่ว กากมัน แป้งข้าวโพด 4. ปลาสวาย กินพืช ไรน้ำ ตัวปลวก หนอน รำ เศษเนื้อ เศษอาหาร ผักสดที่มีเนื้ออ่อน เช่น ผักบุ้งและแหน กากมะพร้าวปลาป่น 5. ปลาเฉาหรือปลากินหญ้า กินหญ้าอ่อน แหน สาหร่าย หญ้ากก ผักบุ้ง ผักตบชวา รำ และข้าวสุก 6. ปลาลิ่นหรือปลาเกล็ดเงิน กินจุลินทรีย์ในน้ำ 7. ปลาซ่งหรือปลาหัวโต กินจุลินทรีย์ในน้ำ 8. ปลานวลจันทร์ทะเล กินจุลินทรีย์ในน้ำ ตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายและรำข้าว 9. ปลาแรด กินผักบุ้ง แหน จอก สาหร่าย หญ้า รากผักตบชวา ผักกระเฉด รำ ข้าวสุก และกากมะพร้าว 10. ปลาหมอตาล กินตะไคร่น้ำ แหน ไรน้ำ รำ ตัวปลวก แมลง และกุ้ง 11. ปลากระบอก กินจุลินทรีย์ในน้ำ ตะไคร่น้ำ สาหร่าย 12. ปลากะพงขาว เป็นปลากินเนื้อปลา กุ้ง เป็นอาหารอาหารธรรมชาติและแหล่งอาหาร 1. จุลินทรีย์ หมายถึง พืชและไรน้ำเล็กๆ ที่อาศัยอยู่ในน้ำเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ หากต้องการเพิ่มจำนวนก็ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยพืชหมักใส่ลงไปในบ่อ 2. แหน เป็นพืชชนิดหนึ่งเกิดบนผิวน้ำในหนองบึงหรือบ่อที่น้ำนิ่งและในที่ๆ ได้รับแสงแดด เป็นพืช 3. ผักหญ้า ได้แก่ จอก สาหร่าย ผักกระเฉด ผักตบชวา ผักบุ้ง ผักกาด และหญ้าอ่อนๆ เช่น หญ้าแพรก หญ้าขน หญ้านวลน้อยที่ขึ้นอยู่ริมบ่อ รากผักเหล่านี้ก็ใช้เป็นอาหารของปลาบางชนิดได้ 4. ตะไคร่น้ำ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอาหารสมทบ 1. รำ นอกจากอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติในบ่อ ควรใช้รำเป็นอาหารเพิ่มเติมแก่ปลา เพื่อช่วยให้ปลาโตเร็ว โดยผสมปนกับผักบุ้งหรือสาหร่ายที่บดหรือสับละเอียด ปลาป่น เลือดสัตว์ด้วยก็ได้ คลุกจนเข้ากันดีให้เหนียวปั้นก้อนได้ 2. เศษเนื้อ เช่น เนื้อวัว หมู เป็ด ไก่ กุ้ง ปู และปลาบดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ 3. แมลง เช่น ตัวปลวก หนอน ตัวไหม แมลงและไข่ของแมลง เช่นไข่มดบางชนิด ตัวปลวก ส่วนแมลงอาจใช้ตะเกียงจุดล่อให้ตกลงในบ่อ 4. เศษอาหาร เช่น กากมะพร้าว ถั่ว ข้าวสุกและเศษอาหารเหลือผสมกับรำให้กิน 5. ปลาป่น ทำได้จากปลาราคาถูก ๆ อาจใช้เศษปลาตากแห้งแล้วบดหรือปลาป่นที่จำหน่ายเป็นอาหารไก่ใช้ปนกับรำหรือ ผักอาหารควรให้เป็นเวลาและประจำที่ เพื่อฝึกหัดปลาให้เคยชิน ถ้าได้ทำสัญญาณ เช่น ดีดน้ำหรือสาดน้ำก่อนให้ทุกครั้งปลาจะรู้ และอย่าทำให้ปลาตื่นตกใจ
การใส่ปุ๋ย ดินดีและน้ำดีมีส่วนช่วยให้ปลาโตเร็ว เช่นเดียวกับดินดีน้ำดีทำให้พืชผลงอกงาม ดังนั้น บ่อปลาจึงต้องการปุ๋ยเช่นเดียวกับที่นาที่สวน ปุ๋ยสำหรับใส่บำรุงบ่อปลา ใช้ได้ทั้งมูลสัตว์ตากแห้ง ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเหล่านี้ทำให้เกิดจุลินทรีย์ พืชและไรน้ำเล็กๆ ซึ่งเป็นอาหารธรรมชาติที่ดีของปลาและลูกปลาที่เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นปลาสลิด ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาไน และปลาจีน โดยเฉพาะลูกปลาวัยอ่อน นับว่าเป็นการเพิ่มอาหารทำให้ปลาเจริญเติบโต และเป็นการสะสมอาหารให้มีอยู่สม่ำเสมอในบ่อปลาแต่ปุ๋ยมีหลายชนิด และวิธีใช้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของปุ๋ยและอัตราส่วนที่เหมาะสม ดังนี้ 1. ปุ๋ยคอก ได้จากมูลสัตว์ เช่น โค กระบือ เป็ด ไก่ หมู และแพะ ควรตากให้แห้งก่อน ใช้ปุ๋ย 1 กก. ต่อเนื้อที่ 3 ตารางเมตร 2. กากถั่ว ได้จากถั่วเหลือง ถั่วลิสงที่คั้นเอาน้ำมันหรือเหลือจากทำขนมอัดเก็บเป็นแผ่นๆ ใช้กากถั่ว 1 กก. ต่อเนื้อที่ 20 ตารางเมตร 3. ปุ๋ยหมัก มีวิธีทำง่ายๆ โดยนำเศษหญ้า ฟาง หรือ ผักตบชวา กองรวมกันราดน้ำให้ชุ่ม แล้วโรยปุ๋ยคอก ปุ๋ยยูเรีย หรือปุ๋ยน้ำตาลทรายจะช่วยทำให้เป็นปุ๋ยหมักเร็วขึ้น ทำสลับกันเป็นชั้นๆ ราว 3 ชั้น นำดินโรยทับชั้นบนสุด รดน้ำให้ชุ่ม พอหน้าดินแห้งดีใช้ไม้ไผ่เสียบลงในกองปุ๋ย เพื่อให้อากาศในกองปุ๋ยถ่ายเทได้สะดวก ระวังอย่าให้กองปุ๋ยแห้งหรือแฉะเกินไป ควรพลิกกลับกองปุ๋ยทุกๆ 7-10 วัน ประมาณ 2-3 เดือน ก็ใช้ได้ ใช้ปุ๋ยหมัก 6 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร 4. ปูนขาว ได้จากเปลือกหอยหรือหินบด นำมาผสมกับปุ๋ยอื่นๆ ช่วยให้การใช้ปุ๋ยได้ผลดีอย่างรวดเร็ว ใช้ปูนขาว 1 กก. ต่อเนื้อที่ 50 ตารางเมตร หากดินค่อนข้างเป็นกรด (ดินเปรี้ยว)(pH ต่ำกว่า 7)ปุ๋ยแต่ละชนิดใช้ได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นบ่อใหม่หรือบ่อเก่า แต่ควรใส่เดือนละครั้ง สาดหรือโรยปุ๋ยให้ทั่วพื้นบ่อวิธีเลี้ยงปลา ปลาแต่ละชนิดก็มีลักษณะและการกินอยู่แตกต่างกัน ฉะนั้น ก่อนที่จะเลี้ยงปลาไม่ว่าชนิดใดก็ตาม ผู้เลี้ยงควรทราบลักษณะและนิสัยของปลานั้นๆ ก่อน การเลี้ยงปลาก็จะได้ผลดียิ่งขึ้นการขุดบ่อล่อปลา การขุดบ่อล่อปลาทำได้ง่ายกว่าการเลี้ยงปลา การล่อปลาอาศัยบ่อที่ขุดขึ้นเป็นเครื่องล่อจับปลาทุกชนิดที่เข้าบ่อ เมื่อน้ำท่วมทุ่ง ปลาจะเลี้ยงตัวให้โตสักระยะหนึ่ง พอน้ำลดปลาก็จะเข้ามารวมอยู่ในบ่อ ปลาที่ตกค้างอยู่ถูกจับเป็นอาหารประจำครัวเรือนและจำหน่ายเป็นอาชีพที่ช่วย ให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในทึ่ลุ่มใกล้ทางน้ำ และในเขตพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูน้ำหลากร่ำรวยขึ้นได้ ผู้ประสงค์จะขุดบ่อล่อปลาจะต้องพิจารณาว่า ที่ดินที่ตนจะขุดบ่อล่อปลานั้นเป็นที่ดินของเอกชน หรือเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพราะว่ากฎหมายกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ ไม่เหมือนกัน ถ้าที่ดินที่จะขุดบ่อล่อปลาเป็นที่ดินของเอกชนถือกรรมสิทธิ์ ผู้ขุดหรือสร้างบ่อล่อปลาไม่จำเป็นต้องขอรับอนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ แต่จะต้องระมัดระวังมิให้การขุดบ่อล่อปลานั้นเกิดการเสียหายแก่พันธุ์สัตว์ น้ำในที่รักษาพืชพันธุ์โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในการขุดบ่อล่อปลาดังนี้ คือขอบบ่อจะต้องอยู่ห่างจากตลิ่ง คัน หรือขอบแห่งทางน้ำ หรือที่จับสัตว์น้ำไม่น้อยกว่า 8 เมตร และต้องไม่ตั้งอยู่ในเขตหรือใกล้ชิดติดต่อกับที่จับสัตว์น้ำ ที่ว่าประมูล ที่อนุญาต ซึ่งอาจเป็นการเสียหายแก่ผู้รับอนุญาตรายอื่นได้ ถ้าที่ดินที่ขออนุญาตขุดหรือสร้างบ่อล่อปลามีทางน้ำติดต่อกับที่รักษา พืชพันธุ์ บ่อนั้นจะต้องอยู่ห่างจากเขตที่รักษาพืชพันธุ์ไม่น้อยกว่า 100 เมตร (ที่รักษาพืชพันธุ์ คือ ที่จับสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในบริเวณพระอารามปูชนียสถาน หรือติดกับเขตสถานที่ดังกล่าว บริเวณประตูระบายน้ำ ฝายทำนบ หรือที่ซึ่งเหมาะแก่การรักษาพืชพันธุ์สัตว์น้ำ) สำหรับการขุดหรือสร้างบ่อล่อปลาในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินก่อนขุดหรือ สร้างบ่อล่อปลา ผู้ขุดหรือสร้างจะต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ของทางราชการ (คำขอ 4 ) ต่อนายอำเภอท้องที่ เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะไปขุดหรือสร้างบ่อล่อปลาต่อไป หลังจากขุดหรือสร้างบ่อล่อปลาเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือเมื่อปลาเข้าไปในบ่อล่อจนได้ระยะเวลาครบกำหนดที่จะวิดจับ ปลา ก่อนวิดน้ำในบ่อล่อ ไม่ว่าจะอยู่ในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเอกชนเพื่อจับปลาในบ่อล่อปลา ผู้วิดน้ำจะต้องไปยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ของทางราชการ (คำขอ 3) ต่อนายอำเภอหรือปลั[คำไม่พึงประสงค์]ำเภอประจำกิ่งอำเภอหรือผู้ทำารแทนแล้ว แต่กรณีเพื่อขอรับใบอนุญาต (อนุญาต 3) และเสียเงินอากรการประมงตามเนื้อที่ของบ่อล่อปลาในอัตราตารางเมตรละ 25 สตางค์ อนึ่ง ผู้วิดน้ำจับปลาจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งกำหนดไว้ด้านหลังใบอนุญาตด้วย คือ ในการวิเคราะห์น้ำหรือทำให้น้ำในบ่อล่อปลาแห้งหรือลดน้อยลงเพื่อจับปลานั้น จะทำได้ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง เว้นแต่บ่อล่อสัตว์น้ำเค็มจึงจะทำได้มากกว่าปีละ 2 ครั้งวิธีขุดบ่อล่อปลา มีดังนี้ 1. เลือกที่อยู่ใกล้แม่น้ำหรือคูคลองที่มีน้ำขึ้นถึง 2. ขุดบ่อจะเป็นขนาดใดก็ได้ บ่อใหญ่ปริมาณปลามากขึ้นลักษณะบ่อควรเป็นสี่เหลี่ยมลึก 2 เมตร 3. ทำทางน้ำ 1 หรือ 2 ทาง ให้ติดต่อกับแหล่งน้ำ และลึกพอส่งน้ำเข้าบ่อได้สะดวก 4. ปักกิ่งไผ่เป็นกร่ำ หรือปลูกผักหญ้า เช่น ผักบุ้งและผักกระเฉดไว้ในบ่อให้เป็นที่ล่อปลาเข้ามาอาศัย 5. เมื่อปลาเข้าอยู่แล้วจึงให้อาหาร เช่น ข้าวสุก รำ และเศษอาหารบ้าง ซึ่งจะช่วยล่อให้ปลาเข้ามามากขึ้น การขุดบ่อล่อปลา ถ้าเป็นที่ชายทะเลก็จะได้ทั้งกุ้งและปลาทะเล บางแห่งได้กุ้งมากกว่าปลา