วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการสาธิตและส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดิน

โครงการสาธิตและส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดิน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552


หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันปลานิลแปลงเพศ เป็นที่นิยมบริโภคของตลาดในท้องถิ่น ในเมือง และต่างประเทศ เป็นที่นิยมบริโภคในครัวเรือน เพราะเลี้ยงง่าย โตเร็ว เนื้อปลามีรสชาติอร่อย มีความทนทานต่อโรคพยาธิ และสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี จึงเหมาะสมที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรได้เลี้ยงไว้บริโภค และจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้ ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงปลานิลแปลงเพศ อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ น้ำเขียว ซึ่งเป็นอาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วไปในแหล่งน้ำ โดยใช้ ปุ๋ยคอก ที่มีอยู่เกือบทุกครัวเรือน เป็นตัวเร่ง ให้เกิดน้ำเขียว และสามารถใช้ประโยชน์จากวัชพืชที่อยู่รอบ ๆ แหล่งน้ำ และฟางข้าวที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้ว นำมาทำ ปุ๋ยหมัก เป็นอาหารสมทบ ประกอบกับปัจจุบัน ทางราชการกำลังส่งเสริมให้เกษตรกร ทำการเกษตรแบบพอเพียง โครงการนี้จึงเหมาะสมที่ส่งเสริมให้เกษตรกร ได้เลี้ยงปลาในรูปแบบ การสร้างอาหารปลาจากธรรมชาติ และ อาหารสมทบ เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกร สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย ในการซื้ออาหารสำเร็จรูป ซึ่งมีราคาแพง เป็นการลงทุนค่อนข้างสูง ซึ่งถ้าเกษตรกรสามารถสร้างอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นเลี้ยงปลาได้เอง จะเป็น การประหยัดค่าใช้จ่าย และมีอาหารโปรตีนจากปลาบริโภคในครัวเรือนได้ตลอดปี สามารถเป็นบ่อสาธิต และแบบอย่างเผยแพร่ ให้ความรู้แก่เกษตรกรรายอื่น ๆ ได้อีกต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ เข้าใจ และสามารถในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
2. เพื่อให้เกษตรกรมีอาหารโปรตีนจากเนื้อปลาบริโภค อย่างเพียงพอตลอดปี
3. เพื่อเป็นการเสริมสร้างรายได้ ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และสร้างอาชีพเสริมให้กับเกษตรกร
4. เพื่อส่งเสริมให้เป็นจุดสาธิต การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดิน ในหมู่บ้านได้

เป้าหมาย
เกษตรกรที่มีบ่อเลี้ยงปลา และขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแล้ว สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ของตำบลหนองบัวแดงและตำบลนางแดด จำนวน 4 หมู่บ้าน รวมจำนวน 50 ราย / 50 บ่อ






- 2 -

ระยะเวลาดำเนินการ
เดือนตุลาคม 2551 - กันยายน 2552

สถานที่ดำเนินการ
เกษตรกรตำบลหนองบัวแดง และต.นางแดด อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ จำนวน 50 ราย /50 บ่อ
- บ้านราษฎร์ดำเนิน ม. 2 ต. หนองบัวแดง จำนวน 15 ราย
- บ้านลาดเหนือ ม. 4 ต. หนองบัวแดง จำนวน 10 ราย
- บ้านโนนเหม่า ม. 3 ต. นางแดด จำนวน 15 ราย
- บ้านใหม่สำราญ ม. 10 ต. นางแดด จำนวน 5 ราย
- บ้านโนนเหม่า (2 ) ม.18 ต.นางแดด จำนวน 5 ราย
รวมทั้งสิ้น 50 ราย
วิธีดำเนินการ
1. คัดเลือกเกษตรกร ที่มีบ่อเลี้ยงปลา และขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่ใกล้แหล่งน้ำหรือ สามารถถ่ายเทน้ำได้ มีความตั้งใจและมี ความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ เก็บข้อมูลผลผลิต การเลี้ยง ฯ
2. ฝึกอบรมเกษตรกร ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลา และการสร้างอาหารธรรมชาติ จำนวน 1 วัน
3. จัดเตรียมบ่อเลี้ยงปลา โดยเจ้าหน้าที่ประมง ให้คำแนะนำในการเตรียมบ่อที่ถูกต้อง
4. เกษตรกรสร้างอาหารธรรมชาติในบ่อ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่นของตนเอง เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก
5. นำลูกปลานิลแปลงเพศ ขนาด 3- 5 ซม. จำนวน 800 ตัว / ราย โดยใช้มุ้งเขียวกั้นเป็นคอก บริเวณมุมบ่อ แล้วใช้อาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน จำนวน 20 กก./ราย มอบให้เกษตรกรอนุบาลเลี้ยงในระยะแรก บ่อปลาก็เตรียมน้ำเขียวไว้แล้ว
6. อนุบาลประมาณ 30 วัน ก็ปล่อยลูกปลาออกจากคอกที่อนุบาล เพื่อเลี้ยงในบ่อดินโดยให้กินน้ำเขียวที่เตรียมไว้ และเลี้ยงด้วยน้ำ เขียวอีกประมาณ 5 เดือน โดยระหว่างนี้ เกษตรกรสามารถนำอาหารสมทบอย่างอื่นมาเลี้ยงได้
7. เกษตรกรผู้ร่วมโครงการเกษตรกรจะต้องดูแลน้ำในบ่อให้น้ำเขียวอยู่ตลอดเวลา เพื่อเป็นอาหารของปลา โดยการทำปุ๋ยหมัก หรือใส่ปุ๋ยขี้ไก่ 80 ก.ก./ไร่/สัปดาห์ หรืออาจจะใช้ปุ๋ยคอกชนิดอื่นแทนก็ได้ และใช้น้ำสารสกัดชีวภาพ (EM) ผสมน้ำสาดให้ทั่วบ่อ จำนวน 1 ลิตร / ไร่ / 2 สัปดาห์ ในระหว่างที่เลี้ยงปลาเกษตรกรจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง
8. เจ้าหน้าที่ประมง ติดตามให้คำแนะนำส่งเสริม อย่างต่อเนื่อง





- 3 -


ผลผลิตของโครงการ
1. เกษตรกรมีความรู้ ความสามารถในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 50 ราย
2. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับโปรตีนจากสัตว์น้ำ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 3. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ มีรายได้เพิ่มขึ้น และลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

ผลลัพธ์ของโครงการ
- เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านประมง และการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ ในแต่ละหมู่บ้าน จำนวน...1.. แห่ง/ตำบล

งบประมาณดำเนินการ จากสำนักงานประมงจังหวัดชัยภูมิ

มายเหตุ - การฝึกอบรม ตามหลักสูตรดังต่อไปนี้
ก. ความรู้ทั่วไป
- การจัดทำบัญชีฟาร์ม/การบันทึกผลการดำเนินงาน
- ความรู้ด้านอื่นๆ ตามความเหมาะสม
ข. ความรู้ด้านวิชาการประมง
- การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดิน
- หลักการทำอาหารสัตว์น้ำแบบพื้นบ้าน , การสร้างอาหารธรรมชาติ
- การป้องกันและรักษาโรคสัตว์น้ำ
- การวางแผนการผลิตสัตว์น้ำ
- การอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
- การติดตามให้คำแนะนำส่งเสริม

- ติดตามอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง เพื่อให้คำแนะนำอย่างถูกต้องในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยติดตามตั้งแต่เริ่มโครงการฯ ตลอดจนถึงการเลี้ยงสัตว์น้ำ- จับสัตว์น้ำ และติดตามประเมินผลผลิต การจับบริโภค ซื้อขาย รายได้ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรค ในการประกอบกิจกรรมตามโครงการฯ




ผู้รับผิดชอบโครงการ
- สำนักงานประมงอำเภอหนองบัวแดง - สำนักงานประมงจังหวัดชัยภูมิ
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เกษตรกรที่ร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำความรู้ ในการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ เป็นอาชีพเสริม และนำไปสู่การพัฒนา เป็นอาชีพหลักได้
2. เกษตรกรในหมู่บ้าน และบริเวณใกล้เคียงมีอาหารโปรตีน จากปลาบริโภคเพิ่มขึ้น
3. เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถเป็นจุดสาธิต และแบบอย่างขยายผล แก่เกษตรกรรายอื่นได้
4. เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถสร้างอาหารธรรมชาติเลี้ยงปลา แบบประหยัดต้นทุนได้เอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น